คำนวณ ROAS (Return on Advertising Spend)

การคำนวณ ROAS คือ การหาอัตราผลตอบแทนจากการโฆษณา คำนวณออกมาเป็น % เพื่อดูว่าจากงบโฆษณาที่ลงไปนั้นสามารถสร้างยอดขายได้มากน้อยแค่ไหน โดยในยุคนี้นิยมใช้คำนวณการลงโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ เช่น ROAS จากการลงโฆษณา Facebook หรือ ROAS จากการลงโฆษณา Google เนื่องจากผู้ลงโฆษณาสามารถ Optimize​โฆษณาแบบ Target ROAS ได้ด้วยเช่นกัน

การใช้งานการตลาดและการโฆษณา
หน่วยวัดผลเปอร์เซ็นต์ (%) หรือเทียบเป็นเท่า
สูตรคำนวณ[(ยอดขาย – ค่าโฆษณาที่ใช้) ÷ ค่าโฆษณาที่ใช้] x 100
ROAS คิดยังไง วิธีคำนวณ ROAS โปรแกรมคำนวณออนไลน์
สูตรคำนวณหา ROAS (%)

วิธีการคำนวณ ROAS

ROAS การคำนวณ ROAS นั้นไม่ยาก จะใช้ตัวเลขหลัก 2 ตัว คือ ยอดขายที่ได้จากการโฆษณา และงบโฆษณาที่ใช้ไป โดยวิธีคิด ROAS ก่อนอื่นเลยก็จะนำ ยอดขายจากการลงโฆษณา มาลบกับ ค่าโฆษณาที่ใช้ เพื่อหากำไร จากนั้นก็เอาไปหารกับ ค่าโฆษณาที่ใช้ เพื่อเปรียบเทียบสัดสัด สุดท้ายก็เอาไปคูณ 100 เพื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

เครื่องคิดเลขคำนวณ ROAS ของ HardcoreCEO ด้านล่าง จะช่วยคุณคำนวณได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ ยอดขายจากการลงโฆษณา กับ ค่าโฆษณาที่ใช้ ระบบก็จะคิด ROAS ออกมาให้เลยทันที

ตัวอย่างการคำนวณ ROAS

หากคุณลงโฆษณา Facebook ในแคมเปญ A ด้วยงบโฆษณา 20,000 บาท​ โดยเมื่อแคมเปญจบแล้ว ได้ยอดขายมากจากโฆษณาแคมเปญ A เป็นยอด 50,000 บาท หมายความว่า ROAS (%) ของโฆษณา Facebook แคมเปญ A คือ [(50,000 – 20,000) ÷ 20,000] x 100 = 150% หรือหากเทียบเป็นสัดส่วนจะได้เป็น 1.5:1 หมายถึงทุกๆ 1 บาทจากการโฆษณาจะได้ยอดขาย 1.5 บาท

ทำไมการวัดผลด้วย ROAS จึงสำคัญ

โดยปกติลงโฆษณาออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Tiktok, YouTube และช่องทางอื่นๆ เราจะวัดเป็น Cost Per …. เช่น Cost per Click (CPC), Cost per View (CPV) หรือ Cost per Engagement โดยสิ่งเหล่านี้ก็ยังจำเป็นต่อการวัดผลเพื่อดูประสิทธิภาพของโฆษณาอยู่ เพียงแต่ว่ามันเป็นการวัดในช่วงของ Top of Funnel หรือแคมเปญที่เน้นเรื่อง Engagement, Awareness หรือ Traffic

แต่ในบางแคมเปญ เช่น ธุรกิจ E-Commerce ที่มีการซื้อขายบนเว็บไซต์ได้เลย และต้องการวัดผลจากการขายบนเว็บไซต์ แบบนี้ การคำนวณ ROAS จะเข้ามามีบทบาท และสำคัญ

เพราะการคิด ROAS จะช่วยให้เห็นเลยว่าแคมเปญไหนสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า หรือน้อยกว่า และหากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนจากเงินโฆษณาที่ลงทุนไปนั้นคุ้มหรือไม่

ข้อควรระวังจากการวัดผลด้วย ROAS แบบผิดๆ

ถึงแม้ธุรกิจของคุณจะมีเว็บไซต์ E-Commerce ก็จริง แต่ปัญหาที่หลายธุรกิจมักเข้าใจผิดคือ พอเริ่มยิงโฆษณา หรือเริ่มเปิดตัวสินค้าใหม่สู่ตลาด ก็ยิงโฆษณาแบบ Target ROAS หรือเพื่อโฟกัสและวัดผลที่ ROAS ทันที ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยได้ตามต้องการ

เพราะสินค้าบางตัวยังใหม่ คนยังไม่รู้จัก หรือบางสินค้าอาจมีความซับซ้อน ลูกค้าต้องใช้เวลาในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งในกรณีนี้เราแนะนำให้ไปโฟกัสการตลาดในส่วนของ Top of Funnel และ Middle of Funnel ก่อน เนื่องจาก ROAS จะเหมาะกับการวัดผล Bottom of Funnel ซึ่งเป็นช่วงของการ Convert นั่นเอง

บางธุรกิจถึงขั้นตั้งเป็น KPI ของพนักงานฝ่ายการตลาดว่า ROAS ต้อง 300% เท่านั้น ต่ำกว่านี้ถือว่าเฟล หรือบางธุรกิจก็นำ KPI นี้ไปโยนให้กับเอเจนซี่การตลาดโดยให้การันตี % ของ ROAS แบบนี้จะไม่เหมาะกับการทำการตลาดแบบยั่งยืน และไม่สมเหตุสมผลกับการทำการตลาดในช่วง Top of Funnel และ Middle of Funnel

ตอบคำถามที่คุณอาจสงสัย

ROAS จำเป็นต้องคิดเป็น % อย่างเดียวเลยไหม

ROAS อาจคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) หรือเทียบเป็นสัดส่วนด้วยหน่วยเงิน เช่น บาท เลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคำนวณ ROAS ออกมาได้ 200% แต่อยากเทียบเป็นหน่วยเงินให้เห็นภาพชัดๆ ก็อาจสรุปได้ว่า ROAS = 2:1 หมายถึง ทุกๆ 1 บาทจากการลงโฆษณา จะสร้างรายได้ 2 บาท หรือหมายความว่า ยอดขายคิดเป็น 2 เท่าของค่าโฆษณานั่นเอง

Target ROAS คืออะไร

Target ROAS คือ การตั้งค่า Bidding Strategy ในระบบโฆษณาอย่าง Google Ads ที่จะช่วยให้แคมเปญโฆษณาได้ Conversion ที่อยู่ใน ROAS ตามที่เราต้องการ ทั้งนี้ ระบบโฆษณาจะเป็นการประมูล การกำหนดเพดาน ROAS ที่ต่ำเกินอาจทำให้โฆษณาไม่เกิน Conversion

การลงโฆษณาต่างช่องทางกันสามารถใช้สูตรคำนวณ ROAS เหมือนกันหรือเปล่า

สูตรนี้สามารถใช้ได้กับทุกแคมเปญและทุกช่องทางโฆษณา เพียงแต่คุณต้องเปลี่ยนตัวเลขยอดขายและต้นทุนงบโฆษณาให้ตรงกับช่องทางนั้นๆ หรือแคมเปญนั้นๆ บางคนอาจลืมเอาต้นทุนโฆษณาของ Facebook + Google แต่ใช้ยอดขายจากช่องทาง Facebook อย่างเดียว แบบนี้การคำนวณก็จะผิดพลาด

เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

Save