ในปัจจุบันที่โลกเราสามารถเข้าถึงข้อมูลสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในแค่ไม่กี่คลิก การสั่งซื้อสินค้าข้ามทวีปก็มีความนิยมมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยสำหรับประเทศไทยเอง ธุรกิจส่งออกต้นไม้ หรือ ธุรกิจส่งออกพันธุ์ไม้ ค่อนข้างได้รับความนิยมจากลูกค้า โดยเฉพาะในตลาด USA ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก
ปัญหาของการส่งออกต้นไม้
ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการส่งออกต้นไม้อาจเจอปัญหาเช่น
- ต้นไม้ตายก่อนถึงมือลูกค้า
- รูปทรงต้นไม้ผิดไปจากเดิม
- ต้นไม้หลุดออกมาจากกระถาง
- ใช้ระยะเวลาขนส่งนานและไม่สามารถประมาณการได้ ทำให้การวางแผนดูแลต้นไม้ในกล่องเพื่อให้อยู่รอดในช่วงระยะเวลาการจัดส่งเป็นไปได้ยาก
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้สินค้าที่ส่งไปถึงมือลูกค้าไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจได้ในระยะยาวและเสียโอกาสในการเปิดตลาดในต่างประเทศ
บริการขนส่งในปัจจุบัน
ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามประเทศหลายรายเริ่มให้ความสำคัญกับการขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นไม้หรือพันธุ์ไม้ต่างๆ เนื่องจากมีความต้องการสูงมากโดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ
หนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งที่เราเคยพูดถึงในบทความก่อนหน้านี้ก็คือ DHL ได้ให้ความสำคัญกับการส่งสินค้าประเภท “ต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยาก” จากประเทศไทยออกไปต่างประเทศ โดยล่าสุดทาง DHL สามารถให้บริการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ในเวลาเพียง 3-5 วัน หรือหากเป็นการส่งไปในประเทศใกล้ๆ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ก็สามารถส่งถึงได้ในวันถัดไป (Next-day Delivery)
บริการในรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่ส่งออกพันธุ์ไม้ หรือแม้กระทั่งส่งออกแคคตัส (ส่งออกกระบองเพชร) สามารถเปิดโอกาสขยายกิจการไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศได้อย่างไร้กังวล เนื่องจากจะสามารถวางแผนระยะเวลาการส่ง และวางแผนการแพ็คสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การส่งออกต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยาก
ต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยาก หรือ Non-perishable Plant คือต้นไม้ที่อยู่รอดได้ง่ายโดยไม่ต้องอยู่ในดินหรือต้องมีน้ำในช่วง 3-5 วัน ไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ชวนชม มอนสเตอร่า พลูด่าง ฟิโลเดนดรอน และแคคตัสหรือกระบองเพชร ซึ่งต้นไม้กลุ่มนี้จะเน่าเสียได้ยาก เพียงแค่ควบคุมอุณหภูมิให้ดีก็สามารถจัดส่งได้สบายๆ
การส่งออกต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยากไปยัง USA ต้องใช้ใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certification) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ส่งออกได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) สำหรับการนำเข้าพืช โดยผู้รับสินค้าปลายทางก็ต้องติดต่อกระทรวงฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนสินค้าจะถูกจัดส่งเพื่อเตรียมเอกสารการนำเข้าสินค้าด้วยเช่นกัน