อยากขายของออนไลน์ ให้สำเร็จ เริ่มด้วย 9 ขั้นตอนนี้เลย

อยากขายของออนไลน์ ให้สำเร็จ เริ่มด้วย 9 ขั้นตอนนี้เลย

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ อยากขายของออนไลน์ เพราะมีข้อดีหลายอย่าง ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องเสียค่าเช่า ลูกค้าเป็นคนจ่ายค่าขนส่งเอง ใช้ต้นทุนน้อยกว่าและเริ่มทำได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ พัฒนาและขยับขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ ได้ แต่กว่าจะไปถึงจุดที่สามารถ ขายของออนไลน์ ได้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเตรียมตัวหลายอย่าง ตั้งแต่การพิจารณาสินค้าที่จะนำมาขาย ทำการตลาดอย่างไรให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นที่รู้จัก และได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าในระยะยาว มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ สำหรับใครที่อยากรู้ วิธีขายของออนไลน์ให้รวย

    วันนี้เรามี 9 ขั้นตอนง่ายๆ ในการ เริ่มขายของออนไลน์ ยังไง ให้ประสบความสำเร็จมาฝากกัน

    9 ขั้นตอนนี้จะเรียงไปเรื่อยๆ เป็นขั้นตอนที่ผู้เริ่มขายของออนไลน์ควรเริ่มทำตามจาก 1 ไป 9 ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นขั้นตอนสุด Basic ของการเริ่มทำธุรกิจซื้อมาขายไปเลยก็ว่าได้ แต่บทความนี้เราจะมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย และช่องทางออนไลน์

    ใคร อยากขายของออนไลน์ เริ่มตาม 9 ขั้นตอนนี้ได้เลย

    1. เลือกสินค้าอะไรมาขายออนไลน์ดี

    ขั้นตอนแรกก็คือ พิจารณาว่าจะ ขายของออนไลน์ อะไรดี เลือกสินค้าที่เป็นที่ต้องการและน่าจะทำกำไรได้ดี อาจเป็นสินค้าที่คุณทำขึ้นเอง หรือสั่งซื้อสินค้ามาในราคาส่งก็ได้ เช่น สั่งซื้อจาก Aliexpress, Alibaba หรือจะเป็นของ OTOP
    ต่างจังหวัดในบ้านเราก็ได้เช่นกัน

    พยายามอย่าเริ่มเลือกสินค้ามาขายออนไลน์จากการเลือกตามคนอื่น เห็นคนอื่นขายดีแล้วขายบ้าง

    ที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้คือ อย่าไปเลือกตามชาวบ้านอย่างเดียว อย่าเห็นว่าคนอื่นขายดีแล้วเราจะขายบ้าง หากเริ่มแบบนี้บอกเลยว่าโอกาสพังมีเยอะอยู่ มันอาจจะขายได้ในช่วงแรกๆ ก็จริง แต่สุดท้ายจะเกิดปัญหาทั้งเรื่องราคา สินค้าไร้จุดเด่น และเราคุณเองก็อาจไม่ได้มี Passion ทำให้ไม่รู้จะพัฒนาต่อยอดไปทางไหน

    แนะนำให้เริ่มจากความสนใจ หรือความชอบของตัวเอง หรือให้ลอง วิเคราะห์ SWOT ของตัวเองดูว่าตัวเองมีจุดแข็งอะไรบ้าง ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวมากกว่า

    หากเริ่มจากการทำตามคนอื่น หรือเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ชอบ ทำไปสักพักก็อยากจะเปลี่ยนอีก

    2. วิจัยตลาดออนไลน์

    ขั้นตอนต่อมาคือ ดูเทรนของสินค้าที่คุณอยากขายของออนไลน์ เรียนรู้จากร้านค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว และนำมาปรับใช้กับตัวเอง ลองดูว่าสินค้าอะไรความต้องการเยอะ

    ลองค้นหาคีย์เวิร์ดที่ผู้บริโภคใช้ค้นหาออนไลน์เกี่ยวกับสินค้าที่คุณขาย โดยสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Google Keyword Planner หรือจะเป็น Uber Suggest ก็ได้ อันนี้จะเป็นตัวบอกได้ดีว่าในตลาดนั้นมี Demand มากน้อยแค่ไหน

    ขายของออนไลน์อะไรดี หา Keyword
    ขายของออนไลน์อะไรดี ใช้ Uber Suggest หาคำตอบ

    นอกจจากจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการโฆษณา หรือทำการตลาดแล้ว ยังทำให้รู้ด้วยว่าสินค้าไหนควรสั่งมา Stock มาก หรือสินค้าไหนไม่ต้อง Stock เยอะ เพราะหากเป็นสินค้าที่ Demand น้อย การ Stock ค้างไว้เยอะเกินไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจแน่นอน เพราะเงินของคุณจะไปจบกับ Stock นั้นนานเกิน

    ยิ่งไปกว่านั้น จากการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา พฤติกรรมผู้บริโภค 2021 ได้เปลี่ยนไปเยอะพอสมควร ดังนั้นโมเดลธุรกิจ หรือ กลยุทธ์ต่างๆ ก็ต้องปรับตามไปด้วย โดยเฉพาะ กลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้าเก่า ซึ่งควรเริ่มคิดไว้ตั้งแต่ต้น เพราะการขายของกับลูกค้าเก่าช่วยเราประหยัดต้นทุนได้ถึง 5 เท่า และยังช่วยให้รากฐานของธุรกิจมั่นคงในระยะยาว

    3. วิเคราะห์คู่แข่งของคุณ

    เรียนรู้ว่ามีกลยุทธ์อะไรของคู่แข่งบ้างที่ขายของออนไลน์ให้รวยได้ หากทำแล้วได้ผลดีก็นำมาปรับใช้ หรือมีอะไรที่คุณสามารถนำไปพัฒนาต่อให้ดีกว่าได้บ้าง ทำให้แบรนด์ของคุณมีการพัฒนาและค่อยๆ ไต่ขึ้นไปในระดับที่ดีขึ้นในตลาด

    แนะนำว่าอย่าไปลอกคู่แข่งมาทั้งหมด การวิเคราะห์คู่แข่งคือการหาช่องว่างในตลาด ว่ายังมีช่องว่างตรงไหน ที่ลูกค้าต้องการ แต่คู่แข่งยังไม่ได้ทำ ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสที่คุณจะเข้าไปเล่นในช่องว่างนั้นได้

    แนะนำให้ลองทำ Market Analysis ซึ่งคือการวิจัยตลาดแบบง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณหาช่องว่างในตลาด แล้วเอามาสร้างเป็นโอกาสธุรกิจ

    4. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของคุณ

    หากคุณทำ Market Analysis ตามที่แนะนำในข้อก่อนหน้านี้ ก็จะรวมไปถึงการวิเคราะห์ตลาดกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน

    การวิเคราะห์จะช่วยให้เห็นว่าว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายของคุณ เรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคของพวกเขาว่าเป็นอย่างไร พวกเขาชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร ทำยังไงให้พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าของคุณ และทำให้เว็บไซต์หรือเฟสบุ๊คเพจของสินค้าคุณดึงดูดความสนใจจากพวกเขาให้ได้

    หากคุณบอกว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณคือทุกคน เพราะคุณกำลังจะขายให้ทุกคน โปรดรู้ไว้เลยว่าคุณกำลังอยู่ในจุดที่อันตราย

    หลายคนที่เพิ่งเริ่มขายของออนไลน์จะงงๆ ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายหลักคือใคร ส่งผลให้เวลาทำการตลาด หรือโฆษณา ก็จะกระจายไปกว้างๆ ซึ่งอาจทำให้ขายได้ยากมาก ให้ลองนึกชัดๆ เลยว่า ใครที่ต้องใช้สินค้านี้ ไม่ใช้ไม่ได้ แล้วเจาะไปเป็นกลุ่มๆ เพราะแต่ละคน แต่ละกลุ่มมีความต้องการที่ต่างกัน กังนั้นข้อความที่นำเสนอออกไปก็จะต้องต่างกัน เพื่อให้ตอบโจทย์แต่ละกลุ่มมากที่สุด

    5. จัดเตรียมสินค้าไว้ขาย

    หลังจากที่รู้ว่าจะขายของออนไลน์อะไรดีแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องจัดเตรียมสินค้าไว้สำหรับขายแล้ว หากเป็นสินค้าที่คุณทำขึ้นเองก็จัดเตรียมไว้ให้พร้อม หรือทำการสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่าง Alibaba หรือ Taobao

    ในขั้นตอนนี้คุณต้องสามารถประเมินการสั่ง หรือผลิตสินค้าล็อตแรกได้แล้วจากการที่ประเมิน Demand ของตลาดในขั้นตอนที่ 2 เพื่อไม่ให้ สินค้าค้าง Stock เยอะเกินไป

    ซึ่งหากจะสั่งจาก Alibaba ก็ต้องลองดูเรื่อง MOQ หรือจำนวนขั้นต่ำในการสั่ง ร่วมถึงค่าขนส่งด้วย โดยต้องลองมาคิดจุดที่ต้นทุนโอเคกับเราที่สุด เช่น ถ้าคุณสั่งน้อยชิ้น ต้นทุนต่อชิ้นและค่าส่งต่อชิ้นก็จะสูง หากคุณสั่งเยอะ ต้นทุกต่อชิ้นและค่าส่งต่อชิ้นก็จะต่ำ แต่มันก็อาจจะเยอะจนทำให้สินค้าค้าง Stock ได้

    และที่สำคัญ อีกตัวเลขหนึ่งที่ถือเป็นต้นทุนคือ “ภาษีนำเข้า” ศึกษาให้ดีว่าสินค้าของคุณมีภาษี หรือมี VAT อะไรเพิ่มอีกเท่าไหร่

    สำหรับใครที่ต้องจ้างโรงงานผลิต ไม่ว่าจะเป็นครีม หรืออาหารเสริม หรืออะไรก็แล้วแต่ ให้ศึกษาตลาดดีๆ เลย เพราะ การสั่งผลิต หรือการทำ OEM (Origianl Equipment Manufacturer) นั้นต้องมีขั้นต่ำในการผลิต เช่น 500 ชิ้น หรือ 1,000 ชิ้น ซึ่งผลิตออกมาแล้ว จะเปลี่ยนใจไม่ขายไม่ได้แล้วนะ

    6. เลือก e-Commerce Platform สำหรับ ขายของออนไลน์ ที่ใช่

    สำหรับคนที่ อยากขายของออนไลน์ แต่ต้นทุนต่ำ ให้เลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดูแล้วเหมาะกับสินค้า และมีกลุ่มลูกค้าเข้ามาใช้งานเยอะ ตัวอย่างของแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในไทยก็คือ Lazada และ Shopee

    แนะนำให้ศึกษาให้ดีว่าแต่ละแพลทฟอร์มมีค่า Commission เท่าไหร่ เพื่อที่คุณจะได้บวกส่วนนี้ไปในต้นทุนด้วย

    นอกจากนี้หากคุณอยาก Advance ขึ้นมา สามารถเปิดขายบนเว็บไซต์ของตนเองได้ด้วยเช่นกัน อยู่ที่กลยุทธ์ของแต่ละแบรนด์ว่าจะไปพึ่ง e-Commerce Platform หรือจะทำ Platform ขึ้นมาเอง ซึ่งหากเลือกวิธีนี้ควบคู่ไปด้วย ก็จะต้องมีเว็บไซต์ โดยต้องเลือกว่าจะทำเว็บไซต์เอง ใช้ Magento WordPress หรือจะใช้เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูป

    บางแบรนด์ไม่ทำทั้ง 2 อย่าง แต่ขายบน Instagram หรือ Facebook อย่างเดียวก็ได้ ถือเป็นการทำ Social Commerce เช่นกัน ให้กลับไปดูที่ SWOT ของตัวเองว่าถนัดอะไร หรือมีทีมงานพร้อมทำอะไรบ้าง เช่น การทำ Social Media ต้องทำคอนเทนต์เก่ง ต้องยิ่งโฆษณาเก่ง ซึ่งหากคุณทำไม่ได้ ก็อาจจะต้องลองพิจารณาทางเลือกอื่นที่เข้ากับ Skill ของตนเอง หรือของทีม

    7. สร้าง Traffic ออนไลน์

    หลังจากที่คุณมีเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือการสร้าง Traffic ให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเยอะๆ อาจจะผ่านการโฆษณาในโซเชียลมีเดีย หรือใช้เทคนิคการทำ SEO บนเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ลูกค้าค้นหาแล้วเจอเว็บไซต์ขึ้นมาหน้าแรก (หากทำไม่เป็นให้ลองค้นหา Google ว่า “รับทำ SEO คุณภาพ” และเลือกติดต่อสอบถามดูเองได้เลย)

    แต่หากคุณขายบน e-Commerce Platform หรือ Online Marketplace ต่างๆ ให้ลองศึกษาดูว่า จะทำอย่างไรให้สินค้าของเราไปขึ้นบนเว็บไซต์ในจุดที่คนน่าจะคลิกเข้ามาเยอะๆ เช่น เข้าร่วมแคมเปญลดราคา ใส่ Keyword ในเนื้อหาเยอะ หรือกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามารีวิวเยอะๆ เป็นต้น

    การมีช่องทางออนไลน์ก็เหมือนมีหน้าร้าน การสร้าง Traffic ก็เหมือนการเรียกลูกค้าเข้าร้าน หากวันนี้คุณหา Traffic จำนวนมากเข้าร้านได้แล้ว คำถามต่อไปคือ คนที่เข้ามาในร้านมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เข้ามาแล้วออกเลยหรือเปล่า ดังนั้น User Experience (UX) และ User Interface (UI) สำคัญต่อการดึง Traffic ให้มากเป็นยอดขายมาก

    8. พัฒนาธุรกิจให้เติบโต

    เมื่อเริ่มขายได้แล้ว ต่อไปก็ต้องมาเริ่มพัฒนาธุรกิจให้โตขึ้น ถ้าคุณ อยาก ขายของออนไลน์ ให้ประสบความสำเร็จ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจของตัวเองตลอดเวลา ศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค สินค้าอะไรที่ขายดีก็ดำเนินการต่อไป และมองหาโอกาสของสินค้าประเภทหรือแบบใหม่ๆ เป็นตัวเลือกสำหรับลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย น้อมรับคำติชมเพื่อนำมาพัฒนาร้านค้าออนไลน์ของคุณให้ดีขึ้น

    สำหรับขั้นตอนนี้ ขอย้ำให้ทำ SWOT และ Market Analysis อีกครั้ง เผื่อเจอโอกาสใหม่ๆ หรือหากใครอยากพัฒนาจากของเดิมให้ดีขึ้น ต้องไปลองทำ Value Chain จะเห็นภาพเลยว่า จากที่เราทำอยู่เดิม จะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไรได้บ้าง

    หากใครเริ่มขายแล้วยังไม่สำเร็จก็ไม่ต้องตกใจ บางคนล้มเป็น 10 ครั้งกว่าจะขายได้ หัวใจสำคัญคือต้องทดลอง และวัดผลลัพธ์ออกมาให้ได้ ว่าที่ไม่เวิร์คเป็นเพราะอะไร

    9. วิธี ขายของออนไลน์ให้รวย คือต้องหมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ

    หัวใจสำคัญของการขายของออนไลน์คือการเก็บข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ รวมถึงการทดสอบเพื่อให้รู้ว่าอะไรเวิร์คอะไรไม่เวิร์ค เช่น ถ้าใช้คำโฆษณาแบบ A กับแบบ B แบบไหนลูกค้าซื้อเยอะกว่า เป็นต้น

    หากคุณอยาก เริ่มทำธุรกิจ เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตาม เราแนะนำให้คอยติดตามข่าวสารทางธุรกิจต่างๆ เพื่อเรียนรู้อยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้และนำไปปรับใช้จริงคือกุญแจของความสำเร็จในการขายของออนไลน์ให้รวย อาจจะอ่านหนังสือหา Webinar ฟรีๆ ฟังบน YouTube หรือจะตามอ่านบทความของ HardcoreCEO เราก็ยินดี

    การเรียนรู้ข้อผิดพลาด รวมถึงการเรียนรู้สิ่งที่สำเร็จของธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้เรามองย้อนตัวเองว่าอะไรดี อะไรไม่ได้ ควรปรับปรุงส่วนไหน

    บนโลกออนไลน์มี ธุรกิจน่าลงทุน มากมาย ซึ่งการขายของออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมีหลายๆ คนที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้จนผันตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันแบบเต็มตัว ถ้าคุณ อยากขายของออนไลน์ให้รวย ก็เริ่มจากการศึกษาข้อมูล วางแผนตาม 9 ขั้นตอนนี้สำหรับการเริ่มขายของออนไลน์ จากนั้นก็ลงมือทำ และทำให้ดีที่สุด แล้ววันนึงจะต้องเป็นวันของคุณ

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save