มั่นใจว่าหลายองค์กร และเจ้าของธุรกิจเองได้เริ่มให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ กันพอสมควร ซึ่งจะไม่พูดถึงเรื่อง Cloud กันก็ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นอีกเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้เราบริหารทรัพยากรต่างๆ ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เวลาเราพูดถึง Cloud ในด้าน IT มักจะหมายถึงอะไรสักอย่างที่ไม่สามารถจับต้องได้ ลอยไปลอยมาอยู่บนอากาศเหมือนก้อนเมฆ โดยการเข้าถึงระบบ Cloud ต่างๆ ก็จะต้องผ่าน Internet นั่นเอง.. แล้ว Cloud Computing คือ อะไร บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน
นอกจากทำความรู้จาก Cloud Computing แล้ว เราจะพาคุณไปรู้จักกับ ประเภทของ Cloud Computing ทั้ง 3 ประเภท Public Cloud, Private Cloud และ Hybrid Cloud ข้อดี และข้อเสีย ของแต่ละประเภท รวมถึงรูปแบบการให้บริการของระบบ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Software as a Service (SaaS), Platform as a Service (PaaS) และ Infrastructure as a Service (IaaS)
Cloud Computing คืออะไร
สำหรับ Cloud Computing คือ การให้บริการที่ครอบคลุมด้าน เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล (Database) การจัดเก็บข้อมมูล (Storage) ซอฟต์แวร์ เครือข่าย การวิเคราะห์ผล และประมวลผล โดยทั้งหมดนี้หากเราเริ่มใช้บริการ จะไม่มีอุปกรณ์ หรือเครืองอะไรส่งมีที่ออฟฟิศ เพราะทุกอย่างอยู่บน Cloud หมดแล้ว โดยเราสามารถเข้าถึงเพื่อใช้งานได้ผ่าน Internet หรือการ Remote เข้าไปใช้งาน ซึ่งก็จะมีหลายบริษัทที่ให้บริการอยู่ เช่น Microsoft และ Amazon เป็นต้น
ถ้าใครยังงงๆ อยู่ ให้ลองนึกถึง Cloud Storage ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น DropBox หรือ Google Drive ล้วนแต่เป็นบริการ Cloud Storage หรือบริการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบ Cloud ซึ่ง Cloud Storage คือเพียงหนึ่งส่วนประกอบของ Cloud Computing โดย Cloud Storage ถูกนำมาใช้งานแทน Hard Disk หรือ Thumb Drive ที่เราเคยใช้เก็บข้อมูลกัน โดยที่เราไม่ต้องคอยเก็บ Hard Disk เหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ไม่ต้องกลัวหาย ไม่ต้องกลัวเต็ม เพราะหากเต็ม ก็สามารถขยายแพ็กเกจ หรือเสียค่าบริการเพิ่มเพียงเล็กน้อย ก็ได้ความจุในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นแล้ว
ข้อดี และ ประโยชน์ของ Cloud Computing
ข้อดี และ ประโยชน์ของ Cloud Computing คือ อะไรบ้างมาดูกัน! จริงๆ อาจมีอีกมากมาย แต่บทความนี้เราจะยกมา 4 ข้อหลักๆ ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
- ประหยัด: เพราะไม่ต้องเสียเงินที่เป็น Initial Cost ในการลงทุนสร้างระบบ รวมถึงการ Service ในฝั่งของฝ่าย IT ที่เป็น Ongoing Cost
- ครอบคลุมทั่วโลก: การใช้บริการ Cloud Computing เราสามารถเลือกที่ตั้งของ Data Center ได้ เช่น จะให้อยู่ในแถบเอเชีย อเมริกา หรือยุโรปก็ได้ โดยเราไม่จำเป็นต้องไปสร้าง Data Center ด้วยตัวเองในประเทศต่างๆ
- ประสิทธิภาพ: เนื่องจากบริการนี้ให้บริการอยู่ทั่วโลก ดั้งนั้นผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนก็แล้วแต่ ต้องอัพเกรดระบบอยู่อย่างเสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับการให้บริการทั่วโลก ต่างกันการที่คุณมี Local ของตัวเอง การอัพเดทก็อาจช้า ไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ระยะยาวอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
- ความเสถียรในการใช้งาน: ระบบจะมีคำสั่งในการ Backup ข้อมูล หรือ กู้ฐานข้อมูลกลับ (Data Recovery) ได้ง่ายกว่า ช่วยให้ฝ่าย IT ดูแลระบบได้ง่ายขึ้น และยังมีระบบด้านความปลอดภัยต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมด้าน Cyber Security และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
Cloud Computing มีกี่ประเภท
ประเภทของ Cloud Computing มีทั้งหมด 3 ประเภทหลักๆ สำหรับการเลือกใช้งาน คือ Public Cloud, Private Cloud และ Hybrid Cloud โดยเราจะมาสรุปง่ายๆ ว่า 3 ประเภทนี้คืออะไร ต่างกันอย่างไร โดยภาพด้านล่างนำข้อมูลมาจาก bmc เผื่อไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเปรียบเทียบกันแบบชัดๆ ลึกๆ แต่หากใครมึน ให้เลื่อนไปอ่านที่ HardcoreCEO สรุปไว้ให้ด้านล่างภาพ
1. Public Cloud
Public Cloud เหมือนกับการใช้ทรัพยากรรวมกัน เช่น บริษัท A ลงทุนสร้างทรัพยกรณ์ต่างๆ ขึ้นมา เช่น เซิร์ฟเวอร์ และ Storage ขึ้นมา โดยทั้ง Software และ Hardware ต่างๆ จะอยู่ที่บริษัท A โดยบริษัท A จะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด จากนั้นบริษัท A ก็นำมาปล่อยให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาเช่าใช้งานได้ ข้อดีคือเราไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่เช่าตามขนาด หรือบริการที่เหมาะกับเรา ซึ่งจะขยาย Scale เพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ได้ตามต้องการ ค่อนข้างคล่องตัวในการใช้งาน
2. Private Cloud
อันนี้จะมีความเป็นส่วนตัวสูงขึ้น เพราะไม่ต้องไปแชร์ทรัพยากรณ์กับใครทั้งนั้น เราใช้ทรัพยากรณ์นั้นสำหรับบริษัทเราเองเท่านั้น โดยแน่นอนว่ามีความปลอดภัยมากกว่า และสามารถ Customized ได้ตามต้องการ แต่ว่าบริษัทจะต้องสร้างทรัพยากรขึ้นมาเอง หรือบางบริษัทอาจจะไปว่าจ้างผู้ให้บริการ Third-party ข้างนอกให้ช่วยดูแลให้ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะเป็นระบบปิดที่สามารถเข้าใช้งานได้เฉพาะบริษัทเดียวเท่านั้น ซึ่งระบบแบบ Privat Cloud จะไม่ค่อยคล่องตัวในการ Scale หรือขยายขนาดการใช้งานสักเท่าไหร่
3. Hybrid Cloud
คือลูกผสมระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud โดยจะมีเทคโนโลยีที่สามารถผสมทั้ง 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ข้อมูลสามารถเชื่อมต่อกันได้ ย้ายไปมาระหว่างกันได้ ทำให้บริษัทของเราสามารถเก็บข้อมูลบางส่วนที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูงไว้ที่ Private Cloud ในขณะที่อีกบางส่วนอาจใช้งานบน Public Cloud เพื่อความคล่องตัวในการใช้งานหากต้องการ Scale การใช้งานที่เพิ่มขึ้น
การเลือกใช้งาน Cloud ควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น หากเป็น Start Up หรือเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีข้อมูลที่สำคัญมาก ต้องการความคล่องตัวในการขยาย ต้องการลดงบในการลงทุน ความปลอดภัยระบบมาตรฐาน แบบนี้ Public Cloud อาจจะเหมาะกับการใช้งานมากกว่า ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มี Data สำคัญจำนวนมาก บริษัทระดับโลก หรือหน่วยงานของรัฐบาล ที่ต้องการความปลอดภัยระดับสูงสุด ต้องการปรับแต่งระบบให้เหมาะกับการใช้งานที่อาจซับซ้อน แบบนี้ Private Cloud อาจจะเหมาะกว่า
3 รูปแบบของบริการ Cloud Computing ในตลาด
3 รูปแบบของ Cloud Computing ที่ได้รับความนิยมสูงมีแบบ Software as a Service (SaaS), Platform as a Service (PaaS) และ Infrastructure as a Service (IaaS) เราลองไปดูข้อมูลของแต่ละรูปแบบกัน
สังเกตว่าแต่ละแบบจะเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น SaaS สำหรับ End Users.. PaaS สำหรับ Developer ในขณะที่ IaaS จะเกี่ยวกับพวก Architecture/Migration เป็นต้น
Software as a Service (SaaS)
Cloud Computing ในรูปแบบ SaaS คือ การูปแบบของการเช่าใช้ Software หรือ Application ตามพื้นที่ที่ใช้จริง ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ พวก Gmail, Google Drive หรือ Trello เป็นต้น เหล่านี้คือบริการ Cloud ในรูปแบบ SaaS คือคุณจ่ายเงินตามจำนวนพื้นที่ที่ใช้ หรือบางทีก็ไม่ต้องจ่าย หากใช้พื้นน้อย
ซึ่งสามารถเข้าใช้ระบบเหล่านี้โดยผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งอะไรบนเครื่องคอมพิวเตอร์เลยแม้แต่น้อย เพียงแค่เข้าเว็บ หรือแอปพลิเคชั่น จากนั้นก็ Login และใช้งานได้เลย
ผู้ใช้จะไม่มี Control ในการใช้งานเท่าไหร่ คือสามารถใช้งานได้เท่าที่ระบบกำหนดไว้เท่านั้น
Platform as a Service (PaaS)
Platform as a Service (PaaS) คือรูปแบบของคลาวด์คอมพิวติ้งที่ซับซ้อนขึ้นมาเล็กน้อย เพราะจะเหมาะสำหรับนักพัฒนา หรือ Developer ไว้ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรม หรือแอปพิลเคชั่น ซึ่งผู้ให้บริการ PaaS ก็จะมีระบบรองรับ Software, Hardware และระบบคำสั่งอื่นๆ ที่จำเป็น ทำให้การพัฒนานั้นเป็นไปได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผู้ใช้งานสามารถมี Control ในการแก้ไข พัฒนา ระบบได้มากขึ้น ยกตัวอย่างบริการ PaaS เช่น Google App Engine และ Heroku เป็นต้น
Infrastructure as a Service (IaaS)
IaaS คือระบบที่โฟกัสการใช้งานด้าน Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เป็นหลัก รวมถึง Server ซึ่งก็จะรวบรวมอยู่ที่ Data Center โดยการใช้งานก็จะรวมไปถึงด้าน Architecture, Migration หรือการย้ายข้อมูล
IaaS จะค่อนข้างมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ผู้ใช้งานจะมีความสามารถในการ Control สูง สามารถขยายได้ตามต้องการ ตัวอย่างบริการ IaaS เช่น AWS EC2, Microsoft Azure และ Google Conpute Engine เป็นต้น
หากคุณชอบบทความนี้ และเรื่องราวธุรกิจในยุคดิจิทัล สามารถเข้ามาที่ www.hardcoreceo.co ได้ทุกสัปดาห์ (หรือค้นหา HardcoreCEO บน Google) และหากคุณต้องการดูข้อมูลเปรียบเทียบราคา Cloud แต่ละแบรนด์ในการใช้งานแบบ Personal Use ลองอ่านเพิ่มเติมที่ > Cloud Storage ยี่ห้อไหนดี
อย่าลืม Follow เราบน Facebook HardcoreCEO พร้อมกด See First เพื่อรับบทความธุรกิจสดๆ ร้อนๆ ก่อนใครจาก HardcoreCEO
Source: Microsoft, plesk, bmc,