E-Commerce คืออะไร แล้วสำคัญยังไงกับธุรกิจ

E-Commerce คืออะไร แล้วสำคัญยังไงกับธุรกิจ

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    ไม่ว่าธุรกิจเล็กไปจนถึงธุรกิจใหญ่คงจะไม่มีใครไม่รู้จักการขายของหรือการช้อปปิ้งผ่านทางออนไลน์ E-Commerce เป็นช่องทางการค้าอีกช่องทางนึงที่เข้าได้ทุกกลุ่มลูกค้าและสะดวกต่อการซื้อขาย แต่หลายคนหรือหลาย ๆ ธุรกิจอาจจะไม่รู้จักว่า E-Commerce คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ บทความนี้จะมาทำความรู้จักช่องทางการขายของออนไลน์ที่มีผู้ใช้มากที่สุด

    E-Commerce คืออะไร

    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต สามารถจะซื้อขายสินค้า เมื่อไหร่ ที่ไหน เวลาไหนด็ได้ สะดวกและทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการได้สะดวกและรวดเร็ว

    E-Commerce มีกี่ประเภท 

    สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 

    1. Business-to-Consumer (B2C): ธุรกิจสู่ผู้บริโภค เป็นธุรกิจขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรงไม่มีคนกลาง เช่น Lazada, Shopee, JD Central และแพลตฟอร์มขายปลีกที่เชื่อมต่อร้านค้ากับผู้บริโภค หรือ Nike.com, Apple.com เป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าโดยตรงให้ลูกค้าผ่านเว็บไซต์ตัวเอง
    2. Business-to-Business (B2B): ธุรกิจสู่ธุรกิจ เป็นการซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เช่น ผู้ผลิตขายวัตถุดิบให้กับโรงงาน หรือร้านค้าปลีกซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อและมักเป็นการซื้อขายแบบ จำนวนมากใช้ระบบอัตโนมัติในการสั่งซื้อ
    3. Consumer-to-Consumer (C2C): ผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างบุคคลทั่วไป นิยมใช้กับ สินค้ามือสอง หรือ สินค้าแฮนด์เมดและซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
    4. Consumer-to-Business (C2B): ผู้บริโภคสู่ธุรกิจ พบได้บ่อยในอุตสาหกรรม ฟรีแลนซ์ และ Influencer Marketing เป็นรูปแบบที่ผู้บริโภคเป็นผู้เสนอขายสินค้า/บริการให้กับธุรกิจ
    5. Business-to-Administration (B2A): ธุรกิจกับหน่วยงานรัฐ เป็นรูปแบบธุรกิจให้บริการหรือขายสินค้าให้กับหน่วยงานของรัฐ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
    6. Consumer-to-Administration (C2A): ผู้บริโภคกับหน่วยงานรัฐ เป็นเหมือนการทำธุรกรรมระหว่างบุคคลทั่วไปกับหน่วยงานรัฐบาล ผ่านระบบออนไลน์ มักเกี่ยวข้องกับ การชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม การขอใบอนุญาต

    E-Commerce มีอะไรบ้าง

    รูปแบบของ E-Commerce ที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ 

    • การขายปลีกออนไลน์: ร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค เช่น Amazon, Lazada
    • การประมูลออนไลน์: แพลตฟอร์มที่ให้ผู้บริโภคสามารถประมูลสินค้าจากผู้ขายได้ อย่างเช่น eBay
    • การสมัครสมาชิก: บริการที่ผู้บริโภคจ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปีเพื่อรับสินค้า หรือบริการ อย่างเช่น Netflix, Spotify 
    • การขายสินค้าดิจิทัล: การขายสินค้าในรูปแแบบดิจิทัล เช่น e-books, ซอฟต์แวร์

    ประโยชน์ของ E-Commerce มีอะไรบ้าง

    • สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น: ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดแค่พื้นที่ตั้งหน้าร้าน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ ช่องทางขายของออนไลน์ เข้ามาช่วย ก็อาจจะทำให้สะดวกต่อการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างจังหวัด หรือต่างประเทศได้ง่ายในอนาคต
    • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ: เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ จึงไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง ทำให้สามารถลดค่าเช่าพื้นและค่าจ้างพนักงานได้ โดยจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน 
    • เพิ่มโอกาสในการขายและยอดขายรวม: เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สามารถเปิดจำหน่ายได้ทุกเวลา ไม่มีวันหยุดและส่งเสริมการขายด้วยการใช้กลยุทธ์ อย่างเช่น Flash Sale, โปรส่งฟรี, การตลาดแบบ Personalization เพื่อกระตุ้นยอดขาย และควรกระจายการจำหน่ายสินค้าไปยังหลากหลายช่องทาง เช่น ทางเว็บไซต์ Shopee, Lazada, Facebook, IG 
    • สร้างความประทับใจและประสบการ์ณที่ดีให้ลูกค้า: ควรอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการสั่งซื้อ การเช็กสถานะ การจ่ายเงินและการรีวิวสินค้าในทีเดียวเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิทัลและเพื่อเพิ่มความพึงพอใจและโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำ
    • สามารถทำแคมเปญและโปรโมชันให้ยืดหยุ่นได้: ทำ A/B Testing ได้ว่ากลยุทธ์แบบไหนเวิร์กที่สุดโดยต้องวัดผลแบบเรียลไทม์ว่าลูกค้าชอบอะไรและปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นตามพฤติกรรมผู้บริโภคได้ทันทีเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด
    • เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาด: ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดไหนหรือพึ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็สามารถใช้ E-Commerce เป็นช่องทางในการขายและเติบโตได้

    ตัวอย่างช่องทางการซื้อขายผ่าน E-Commerce

    • เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce Website) ตัวอย่าง: Nike.com, Adidas.com
      • เป็นช่องทางที่ธุรกิจสร้างเว็บไซต์ของตัวเองเพื่อขายสินค้าโดยตรง ลูกค้าสามารถเลือกสินค้า กดสั่งซื้อ และชำระเงินผ่านบัตรเครดิต, โอนเงิน หรือ e-Wallet เหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างตัวตนและควบคุมประสบการณ์ลูกค้า
    • Mobile App E-Commerce (แอปพลิเคชันขายสินค้า) ตัวอย่าง: Lazada App, Shopee App
      • ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อซื้อของสะดวกขึ้น มีฟีเจอร์พิเศษ เช่น การแจ้งเตือนโปรโมชั่น, ระบบสะสมแต้ม, การชำระเงินผ่านแอป
    • Live Commerce (การขายผ่านไลฟ์สด) ตัวอย่าง: Facebook Live, TikTok Live, Shopee Live
      • ร้านค้าสามารถไลฟ์สดเพื่อรีวิวและขายสินค้าแบบเรียลไทม์โดยลูกค้าสั่งซื้อผ่านคอมเมนต์ หรือกดลิงก์ที่ระบบขึ้นให้

    E-Commerce ไม่ได้เป็นแค่ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจทันสมัย คล่องตัว มีข้อมูลในการตัดสินใจ และเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม 

    ทั้งหมดนี้ล้วนช่วยเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุน และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงในโลกของการตลาดยุคดิจิทัล

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save