ในยุคที่โลกธุรกิจขับเคลื่อนด้วยความรวดเร็วและการแข่งขันอย่างเข้มข้น หลายองค์กรต่างมุ่งเน้นไปที่การเติบโตและผลกำไรเป็นหลัก โดยอาจมองข้ามสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเป้าหมายทางการเงิน นั่นคือ “จริยธรรมในการบริหารความเสี่ยง” ซึ่งเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงโดยตรงกับความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว ความเสี่ยงในยุคการแข่งขันสูง จริยธรรมมักถูกละเลย องค์กรจำนวนมากอาจเผชิญกับแรงกดดันในการลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร หรือเร่งรัดกระบวนการผลิต ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ขาดจริยธรรม เช่น การเปลี่ยนสเปควัสดุก่อสร้างเพื่อลดต้นทุน หรือการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดทางวิศวกรรม แม้พฤติกรรมเช่นนี้อาจไม่ผิดกฎหมายโดยตรง แต่เป็นการ ใช้ช่องว่างของกฎหมายและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ (Compliance) อย่างชัดเจน ในกรณีที่ความเสี่ยงดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ องค์กรอาจสามารถรับมือได้เองโดยไม่กระทบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่หากความเสี่ยงมีระดับสูง ผลกระทบที่ตามมาอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นโศกนาฏกรรมที่ย้อนกลับมาแก้ไขไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การถล่มของอาคาร หรืออุบัติเหตุร้ายแรงจากโครงการก่อสร้างที่ละเลยมาตรฐาน ระดับความเสี่ยงที่องค์กรควรพิจารณา การจำแนกระดับความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินและบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่: “จริยธรรม” รากฐาน การบริหารความเสี่ยง หัวหน้าโครงการหรือผู้บริหารองค์กรควรมีบทบาทหลักในการประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในระดับที่สูงสุด ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อม หากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง การสอบสวนมักชี้ให้เห็นว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดทางวิศวกรรมเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการ ขาดจริยธรรมในการบริหารจัดการ เช่น การละเลยข้อกำหนดมาตรฐาน ความไม่โปร่งใส และความไม่รับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง ความสำคัญของ Compliance Business Compliance คือการที่องค์กรดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐานอุตสาหกรรม […]
