เจ๊งแน่! หากไม่เคลีย 3 เรื่องนี้กับ หุ้นส่วน ก่อนเริ่มธุรกิจ

เจ๊งแน่! หากไม่เคลีย 3 เรื่องนี้กับ หุ้นส่วน ก่อนเริ่มธุรกิจ

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    เมื่อถึงเวลาที่เราจะเริ่มธุรกิจกับหุ้นส่วน อาจจะเป็นเพื่อน หรือคนรู้จัก มันก็จะมีแอบคิดกันหน่อยแหละว่าจะไปด้วยกันรอดหรือเปล่า แต่แปลก.. ถึงแม้จะรู้สึกแบบนี้ หลายคนก็จะปล่อยความคิดนี้ผ่านไป และสนใจแค่ว่า ทำยังไงก็ได้ให้ธุรกิจมันเริ่มก่อนได้ก็พอ

    ปัญหาส่วนใหญ่มันจะเริ่มมาตอนที่ธุรกิจกำลังเข้าที่ และทำเงินได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ จะเกิดจากการที่หุ้นส่วนไม่ได้คุยกันให้เคลียตั้งแต่ตอนเริ่มธุรกิจ อาจทำให้เกิดการทะเลาะกัน การไม่เข้าใจกัน และเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดคือการที่หุ้นส่วนแต่ละคนเดินไปกันคนละทาง

    หากไม่เคลีย 3 เรื่องนี้ก่อนเริ่มธุรกิจกับหุ้นส่วน มีโอกาสสูงมากที่ธุรกิจจะไปไม่รอด

    3 เรื่องที่ต้องเคลียกับหุ้นส่วนก่อนทำธุรกิจ

    1. สัดส่วนการถือหุ้นของ หุ้นส่วน

    ตอนเริ่มจดทะเบียนบริษัท ผู้ร่วมก่อตั้งก็จำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนหุ้น ซึ่งหลายๆ คนที่เป็นเพื่อกัน ก็มักจะหารตามจำนวนผู้ถือหุ้นเลย เช่น ทำ 3 คน ก็คนละ 33.33% ซึ่งการแบ่งแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาตามาทีหลัง (เช่นคนนึงทำงานหนักกว่าอีกคน แต่ได้หุ้นเท่ากัน)

    การแบ่งสัดส่วนหุ้นควรแบ่งตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความทุ่มเทให้กับบริษัท ผู้ที่เสียสละและทุ่มเทให้กับบริษัทมากกว่า สมควรได้จำนวนหุ้นที่สูงกว่า

    ซึ่งผู้ถือหุ่นทุกคนควรแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน เช่น คนนี้ดูเรื่องการตลาด (CMO) อีกคนดูเรื่องการเงิน (CFO) อีกคนเป็น CEO เพราะหากไม่แบ่งหน้าที่ให้ชัดตั้งแต่ต้น ต่อไปมะนจะเริ่มตีกันมั่วจนไม่รู้ว่าใครควรทำอะไร

    2. ระบบการเงิน

    ถึงแม้ว่าตอนเริ่มจะยังไม่มีเงินเข้าสักบาทก็เถอะ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องคุยให้เคลีย เพราะเมื่อธุรกิจเริ่มทำเงินอาจจะเกิดการทะเลาะกันได้ ระบบการเงินในบริษัทแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ

    1. เงินเดือนผู้ร่วมก่อตั้ง
    2. สัดส่วนเงินปันผล
    3. สัดส่วนเงินสำรองการใช้จ่ายในบริษัท (ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ)

    คุยกันให้ชัดเจนว่า จะแบ่งเงินเดือนกันคนละเท่าไหร่ (**แบ่งตามหน้า และความรับผิดชอบที่ ไม่ใช่คิดแค่ว่าทำ 3 คนและหาร 3 แบบนี้เจ๊งแน่) หรือหากไม่เอาเงินเดือน จะจ่ายเป็นปันผลแทนไหม? แล้วจะแบ่งเงินปันผลกี่เปอร์เซนต์จากกำไร? จะเก็บกี่เปอร์เซนต์เป็นเงินสำรองการใช้ในบริษัท? .. หลายบริษัทเปิดใหม่ไปต่อไม่ได้ เพราะหุ้นส่วนเอาเงินบริษัทออกมาใช้ส่วนตัวหมด จนไม่มีเงินสำรองหมุนเวียนสำหรับการลงทุนในธุรกิจ

    3. วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย

    เรื่องนี้ถือว่าสำคัญที่สุด.. ที่สุดจริงๆ .. คนที่ตั้งตัวเองเป็น CEO หรือผู้นำทีม ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และต้องอธิบายวิสัยทัศน์นี้ให้แก่ทุกคนในทีม เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนเห็นอนาคตของบริษัทเป็นภาพเดียวกัน นอกเหนือจากวิสัยทัศน์แล้ว CEO ยังจำเป็นต้องตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร แต่หากคุยกันแล้วเริ่มรู้สึกว่าแนวคิด ตรรกะ ไปด้วยกันไม่ได้ ก็อย่าฝืน

    หลายคนไม่สนใจเรื่องวิสัยทัศน์ เพราะคิดว่าเพิ่’เริ่ม ยังไม่สำคัญ ซึ่งจุดจบส่วนใหญ่ก็คือ แต่ละคนเริ่มเห็นภาพบริษัทไม่เหมือนกัน เริ่มเดินกันไปคนละทาง เริ่มงงว่าทำไปเพื่ออะไร และเหตุการณ์นี้คือจุดเริ่มต้นของจุดจบบริษัท

    #CEOHomework

    ใครกำลังเริ่มธุรกิจกับเพื่อน หรือใครก็ตาม หากยังไม่ได้คิด 3 เรื่องนั้น เริ่มด่วน!
    1. เรียกทีมงานมาคุยกันก่อนเลยเกี่ยวกับเป้าหมายของธุรกิจ ระยะยาวแต่ละคนเห็นภาพธุรกิจนี้อย่างไร เพื่อเช็คว่าทุกคนเห็นตรงกันไหม หากไม่ ให้รีบเคลีย
    2. การแบ่งเงินยังแบ่งโดยการหารจำนวนผู้ถือหุ้นเท่าๆ กันไหม หากใช่ ลองเปลี่ยนเป็นหารตามความทุ่มเม และหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นปันผลตามจำนวนหุ้น หรือเงินเดือนก็ตาม
    3. หากจะทะเลาะกัน ก็ทะเลาะกันไปตอนนี้เลย ดีกว่าทำไปแล้วมาทะเลาะทีหลัง

    Image: Designed by Rawpixel.com

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save