เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานประจำอยู่อยากเริ่มลองทำธุรกิจของตัวเองดูสักตั้ง โดยที่ยังไม่อยากออกจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัวเต็มๆ อาจจะด้วยความที่ยังเป็นมือใหม่ มีความไม่แน่ใจ และที่สำคัญยังต้องการช่องทางในการสร้างรายได้อย่างมั่นคงควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นสายป่านในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งการ ทำธุรกิจพร้อมงานประจำ ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ดีมาก และเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ทำงานประจำอยู่ แต่การ ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ อาจจะต้องแบ่งเวลาให้ดี และที่สำคัญ อยากให้ลองศึกษาประเด็น และเคล็ดลับสำคัญๆ ที่เรากำลังจะพูดถึงในบทความนี้ดู เพื่อให้การเริ่มต้นธุรกิจระหว่างทำงานประจำเป็นไปได้ด้วยดี และประสบความสำเร็จ
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง ธุรกิจน่าลงทุน 2021 โดยหลายคนอาจเริ่มวางแผนทำธุรกิจควบคู่กับงานประจำ ซึ่งการ ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ โดยไม่วางแผนให้ดี หรือไม่ศึกษาก่อน มีโอาสที่จะเกิดปัญหาตามมา หรืออาจจะเกิดข้อพิพาททางกฎหมายในภายหลังได้ ซึ่งจะส่งผลให้เริ่มรู้สึก Burn Out หรือ หมดไฟ กับธุรกิจเสียก่อน
4 สิ่งที่ช่วยให้การ ทำธุรกิจพร้อมงานประจำ เวิร์ค
เรื่องที่เราจะพูดถึงในบทความนี้จะมีทั้งหมด 4 เรื่องด้วยกัน เพื่อให้การ ทำธุรกิจพร้อมงานประจำ มีความ Smooth มากขึ้น
1. การแบ่งเวลา และแยกเวลา
วินัยในการแบ่งเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณตัดสินใจที่จะ ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ แล้ว ก็ควรแบ่งเวลาสำหรับดูแลจัดการธุรกิจของคุณหลังเวลาทำงานประจำอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมือนกับว่าคุณต้องทำงานพาร์ทไทม์ควบคู่กับงานประจำไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งต้องอาศัยความอดทนด้วย เพราะสิ่งที่ไม่เหมือนงานพาร์ทไทม์คือ คุณจะยังไม่ได้เงินจากการทำงานในช่วงแรกๆ แน่นอน
สำหรับการแยกเวลาก็สำคัญพอๆ กับการแบ่งเวลา เพราะเมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินการแล้ว การบริหารจัดการ หรือปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เรื่องการผลิต เรื่องการขาย เรื่องลูกค้า และอื่นๆ ก็มักจะมาในช่วงกลางวัน ถ้าคุณไม่แยกเวลาให้ดี มันก็จะเกิดเหตุการณ์ “ทำงานซ้อน” ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพของงานประจำเริ่มลดลง เริ่มหลุดโฟกัส และแน่นอนว่าเพื่อนร่วมงาน รวมถึงหัวหน้างานย่อม #ไม่พอใจในสิ่งนี้ โดยจะส่งผลเสียต่ออาชีพ และความเป็น Professional ในอาชีพตัวเองเป็นอย่างมาก
2. ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ ต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดี
สิ่งที่สำคัญก็คือคุณต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญ หรือ Prioritize ให้ดี ทั้งเรื่องงาน และเวลาของคุณ เพราะถ้าคุณต้องทำธุรกิจพร้อมกับงานประจำไปด้วย คุณอาจจะเหลือเวลาน้อยมากสำหรับครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือแม้กระทั่งตัวเอง ทำให้ต้องมีการจัดสรรเวลาว่างที่มีให้ลงตัว เพื่อตัวเอง และคนรอบๆ ตัวด้วย
การที่ตัวเองเหนื่อยเกินไป ไม่ยอมพัก ไม่มีเวลาให้คนรอบๆ ตัว สิ่งที่ตามมาคืออาการ Burn Out หรือเหนื่อยเกินไป โดยในระยะยาวแล้ว ความรู้สึกนี้จะทำให้คุณเริ่มท้อแท้ต่อการทำธุรกิจ และจะเริ่มไม่สนุก
และอย่างที่ได้พูดถึงในข้อที่ 1 เกี่ยวกับการแยกแยะเวลางาน กับเวลาธุรกิจ หากคุณ ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ แน่นอนว่างานประจำของคุณยังมีความสำคัญอันดับ 1 ดังนั้น อย่าให้งานประจำเสียจากการทำธุรกิจส่วนตัว
3. มีเงินเก็บสักก้อนก่อนลาออกจากงานประจำ
พยามเก็บเงินจากเงินเดือนของงานประจำให้ได้สักก้อนก่อนออก หรือหากคุณลอง ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ ไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีรายได้จากธุรกิจ ก็พยายามเก็บจากรายได้ของธุรกิจเอาไว้เป็นเงินสำรองส่วนหนึ่ง เพื่อที่จะได้มีเงินไว้ใช้เป็นสายป่าน และ Cash Flow เมื่อหลังจากที่คุณลาออกจากงานประจำมาในช่วงแรก หรือเมื่อต้องการใช้ลงทุนเพิ่ม
ซึ่งหากธุรกิจของคุณเริ่มเข้าที่สักระยะหนึ่ง และเริ่มสร้างรายได้ หรือเริ่มเห็นแนวทางในการสร้างรายได้อย่างชัดเจน อย่ากลัวที่จะออกจากงานประจำ เพื่อใช้เวลาให้เต็มที่กับธุรกิจของตัวเอง ขยับขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น
คำถามยอดฮิต: ต้องเก็บเงินได้แค่ไหนถึงควรจะลาออก?
จริงๆ ก็มีวิธีคิดหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวพิจารณาได้ แต่ในบทความนี้ เราขอใช้วิธีพื้นๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งอันนี้จะเป็นเงินก้อนสำรองสำหรับการดำรงชีวิตเท่านั้น ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งวิธีคิดก็ง่ายๆ
- คำนวณออกมาก่อนว่าต่อเดือนมีรายจ่ายในครอบครัวเฉลี่ยเท่าไหร่ เอาแบบที่ตัวเองและครอบครัวสามารถอยู่ได้แบบไม่ตึงเกินไป (เช่น 30,000 บาท)
- คุณจะให้เวลาธุรกิจของคุณเท่าไหร่ในการเริ่มทำรายได้ (เช่น 10 เดือน)
- คุณคิดว่าหลังจาก 10 เดือน ถ้าธุรกิจไม่เวิร์ค จะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหางานใหม่ได้ (เช่น 5 เดือน)
- ดังนั้น เงินก้อนสำรองที่คุณควรจะมีอย่างน้อยๆ คือ 30,000 x (10 + 5) = 450,000 บาท
ซึ่ง 450,000 บาทนี้จะช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตอยู่ได้ในช่วง 10 เดือนแรกก่อนที่ธุรกิจจะเริ่มทำเงิน หรือหากธุรกิจไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ คุณยังมีเงินสำรองต่ออีก 5 เดือนระหว่างหางานทำ
4. อ่านสัญญาจ้างงานของคุณให้ดี
นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนที่ต้องการ ทำธุรกิจพร้อมงานประจำ ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าไม่ระวังให้ดี คุณอาจจะโดนฟ้อง หรืออาจจะติด Blacklist ในการสมัครงานที่ต่อๆ ไปได้
หลายบริษัทจะมีการคิดค้น งานวิจัย หรือข้อมูล ที่ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท หลายอย่างถูกจดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในสัญญาการจ้างงานมักจะเขียนอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานนำข้อมูลของบริษัทไปหาผลประโยชน์ต่อ ไม่เพียงแต่ทรัพย์สินของบริษัท ในบางกรณีอาจมีข้อห้ามในการนำ Skill ที่บริษัทได้อบรม หรือสอนให้ ไปใช้หาผลประโยชน์อื่นๆ เช่น บางบริษัทอาจจะห้ามให้คุณใช้ Skill ที่บริษัทเป็นผู้ Train ให้ ไปรับงานนอก ไปเป็นฟรีแลนซ์ ยิ่งกว่านั้น บางบริษัทจะมีข้อห้ามไม่ให้คุณไปทำงานในบริษัทคู่แข่งในช่วง 1-2 ปีหลังลาออก หรือห้ามไปทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นนโยบาย หรือสัญญาจ้างงานที่ปกติ ไม่ได้เป็นการเอาเปรียบแต่อย่างใด หากวันหนึ่งคุณสร้างธุรกิจใหญ่โตด้วยหยาดเหงื่อของตนเอง คุณก็จำเป็นต้องทำในลักษณะนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท
นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อีเมล และอื่นๆ ที่เป็นของบริษัท ก็ถือเป็นทรัพย์สินบริษัทด้วย การที่คุณนำคอมพิวเตอร์บริษัทไปทำงานส่วนตัว หรือทำธุรกิจส่วนตัว ก็ถือว่าเป็น Conflict of Interest ได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่สิงของ แต่เวลางานก็ด้วย เวลาที่ควรเป็นของบริษัทผู้จ้างงาน แต่คุณไปดำเนินงานธุรกิจของตัวเอง ก็กลายเป็นว่าทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวแทนที่จะเป็นประโยชน์ของบริษัท
ข้อนี้ดูเหมือนไม่มีอะไร ฟังดูเหมือนบริษัทเรื่องมาก เรื่องเยอะ แต่จริงๆ ทางบริษัทก็แค่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของบริษัท ทางที่ดี ให้ลองแอบไปปรึกษาฝ่ายบุคคลดูว่าบริษัทมีนโยบายพวกนี้ไหม หรือสัญญาจ้างงานที่ตนเองได้รับมา มีเนื้อหาอะไรบ้างที่ถือว่าเป็น Conflict of Interest จะได้ไม่ต้องกังวลข้อพิพาททางกฎหมายใดๆ ในภายหลัง
และนี่ก็คือข้อแนะนำและข้อควรระวังที่ควรตระหนักถึงหากคุณต้องการ ทำธุรกิจควบคู่งานประจำ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร หรือใครอยากขายของออนไลน์ ควบคู่กับงานประจำก็ลองนำไปใช้ได้.. เริ่มจากการแบ่งเวลาจากงานประจำเพื่อไปเริ่มทำธุรกิจที่คุณใฝ่ฝันมาตลอด และจัดลำดับความสำคัญในสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวันให้ดี คุณอาจจะได้พบเพื่อนน้อยลงบ้าง เพราะคงจะยุ่งมากในช่วงแรก
และเมื่อธุรกิจของคุณเริ่มลงตัวแล้ว ให้รวบรวมความกล้าเพื่อก้าวออกมาจาก Comfort Zone ลาออกจากบริษัท และให้เวลากับธุรกิจของคุณอย่างเต็มที่!
Source: investopedia