ไอเดีย Startup หลักล้าน เกิดขึ้นได้จากการมองปัญหารอบตัวด้วย 5 กระบวนการนี้

ไอเดีย Startup หลักล้าน เกิดขึ้นได้จากการมองปัญหารอบตัวด้วย 5 กระบวนการนี้

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    บ้างบอกว่าการทำธุรกิจสตาร์ทอัพคือการหาไอเดียธุรกิจใหม่ 100% ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน บ้างบอกว่าการทำสตาร์ทอัพไม่เห็นจำเป็นต้องเป็นไอเดียธุรกิจใหม่ทั้งหมด สามารถเอาธุรกิจเดิมๆ ท่ีมีอยู่มาพัฒนาต่อยอดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพในสเต็ปแรกเลยคือไอเดีย ซึ่งการพัฒนาไอเดียที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ คือ ไอเดียสตาร์ทอัพ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้คนหมู่มากได้

    อย่างไรก็ตาม การที่ Startup จะประสบความสำเร็จมันมีปัจจัยอื่นๆ มากกว่าแค่ไอเดีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทีมที่แข็งแรง การวางแผนระดมทุน การบริหารกระแสเงินสด ไปจนถึงการตลาด ตัวสินค้า และอื่นๆ อีกมากมาย

    แต่ในบทความนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ ไอเดีย Startup กันก่อน เพราะถ้าไม่มีไอเดียที่ดี Startup ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

    ไม่ว่าจะเป็น Facebook, AirBNB, Tesla หรือ Uber ล้วนแต่เริ่มมาจากการเห็นปัญหาในสังคม หรือช่องว่างในสังคมที่สามารถเติมเต็มได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าไปจับ แต่หากใครยังไม่มีไอเดีย เราจะมาแนะนำ 5 วิธีการพัฒนาไอเดียเพื่อเป็นบันไดสู่ธุรกิจสตาร์อัพกัน

    5 วิธีหาไอเดียสำหรับเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ

    มาเริ่มกันเลย!

    1. มองหาปัญหารอบๆ ตัว

      จริงๆ แล้ว การเริ่มต้นธุรกิจด้วยปัญหาสามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สตาร์ทอัพ ลองนึกถึงสมัยก่อน คนหลายคนอยากให้ไม้ 2 แผ่นติดกันได้แข็งแรง เลยเกิดเป็นไอเดีย ค้อน+ตะปู ที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี้

      สำหรับหลายธุรกิจสตาร์ทเองก็เกิดมาจากการมองเห็นปัญหารอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของตัวเอง หรือปัญหาของคนอื่น เช่น Uber เองก็เกิดมาจากคำถามที่ว่า ทำไมการจ้างคนขับรถส่วนตัวมันถึงแพง จะมีวิธีไหนไหมที่จะให้มันถูกลงได้ ซึ่ง Garrett Camp ก็ได้ปิ๊งไอเดียว่า หากทำธุรกิจในลักษณะ Time Sharing และ Cost Sharing โดยการที่รถคันหนึ่งสามารถแบ่งไปรับผู้โดยสายได้หลายคน หรือคนที่มีรถอยู่แล้วก็สามารถมาขับให้กับ Uber เฉพาะช่วงเวลาที่รถว่างก็ได้ หลังจากนั้น Travis Kalanick ก็ได้เข้ามาร่วมทีมและดำเนินธุรกิจ Uber จนประสบความสำเร็จ

    2. บันทึกปัญหาต่างๆ ที่เจอ

      อย่างเพิ่งตื่นเต้นหากคุณเริ่มเห็นปัญหา หรือ Pain Point ของตัวเอง และคนรอบๆ ตัว ใจเย็นๆ แล้วเริ่มจดบันทึกไปเรื่อยๆ ก่อน โดย 2 สิ่งที่คุณควรจดเก็บไว้ คือ 1). Problem Exploration ลิสต์ปัญหาที่เจอ หากเจอหลายปัญหาก็จดเก็บไว้เรื่อยๆ เพื่อเก็บไอเดียไว้เยอะๆ แม้แต่จะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่น ทำไมโรงแรมดีไซน์สวยๆ ต้องราคาแพงตลอด 2). Problem Validation เก็บสถิติ หรือข้อมูลว่าปัญหานั้นใหญ่แค่ไหน ซึ่งอาจจะลองสังเกตดูว่ามีคนอื่นบ้างไหมที่เจอปัญหานี้ แล้วตอนนี้เขาแก้ปัญหานั้นด้วยอะไร เพื่อที่จะดูว่าแต่ละปัญหานั้นเป็นปัญหาจริงๆ หรือเปล่า

      เพราะหากคุณรีบเอาปัญหาที่เจอ โดยยังไม่ได้ทำการ Validate สุดท้ายอาจจะมาพบที่หลังว่าปัญหานั้นยังไม่ใหญ่พอ ซึ่งหากออก Product ไปแล้วก็อาจทำให้กลุ่มผู้ใช้น้อยมากเกินที่จะ Scale ได้

    3. หาปัญหาที่คุณมี Passion มากพอ

      หากจะเลือก ไอเดียสตาร์ทอัพ จากลิสต์ที่ได้บันทึกไว้ อยากให้เข้าใจก่อนว่าสิ่งที่สตาร์ทอัพต้องมีมากกว่าไอเดียคือ Passion ในธุรกิจ หรือจะพูดอีกมุมคือ ต้องมี Passion มากพอที่จะแก้ปัญหานั้นๆ เพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจต้องใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นแทบจะตลอด 24/7 ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทำงานทั้งวัน แต่สมองของคุณจะมีอะไรให้คิดตลอด ดังนั้นถ้าไม่ได้มี Passion จริง อาจจะเริ่มมองว่าสิ่งนี้เป็นภาระ เป็นเรื่องเครียด ไม่สนุก แล้วสุดท้ายก็จะไปไม่รอด

      การทำ Startup จำเป็นต้องโน้มน้าวทีมงาน รวมถึงนักลงทุน ให้มี Passion เดียวกับเรา หากคุณในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งยังไม่มี Passion และไม่เชื่อในธุรกิจนั้น จะไปโน้มน้าวคนอื่นก็คงยาก

    4. สร้างปัญหาขึ้นมาเอง

      ต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายปัญหา ที่ยังไม่แสดงออกมาให้เราเห็นว่ามันคือปัญหา หรือคนเรายังไม่ได้มองสิ่งนั้นว่าเป็นปัญหา

      ดังนั้นหากคุณจะเป็น Startup ที่มีความ Advance ขึ้นมาหน่อย คือการสร้างปัญหาขึ้นมาเอง หรือยกประเด็นใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อให้คนเริ่มตระหนักว่าสิ่งๆ นั้นคือปัญหา

      ซึ่งหากคุณจะใช้วิธีนี้ ต้องศึกษาตลาดนั้นๆ ให้ลึกเลย โดยการเลือกก่อนว่าจะเจาะตลาดไหน สมมุติว่าเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องศึกษาว่าตอนนี้มีการดำเนินการอย่างไร ขั้นตอนการซื้อ การขาย การเช่า ที่ทำกันอยู่เป็นแบบไหน ขั้นตอนตรงไหนบ้างที่ยังดูไม่มีประสิทธิภาพ หรือสามารถทำให้ดีขึ้นได้ เช่น คุณอาจจะเจอว่า ขั้นตอนที่นายหน้าเอาห้องมาโพสต์ขายบน Social Media ต้องใช้เวลาเยอะในการทำ คุณอาจจะพัฒนาระบบที่เข้ามาช่วยให้นายหน้าโพสต์ขายอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายขึ้น

      ซึ่งแน่นอนว่านายหน้าก็คงอาจจะยังไม่เห็นว่าสิ่งๆ นั้นที่เขาทำคือปัญหา หน้าที่ของคุณคือต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นคือปัญหา เพียงแต่เขายังไม่เห็นมันเท่านั้นเอง เช่น คุณอาจจะบอกว่า การเสียเวลาโพสต์ Social Media วันละ 2 ชั่วโมงอาจดูไม่เยอะ แต่หากคุณต้องทำทุกวันตลอด 1 ปี จะเสียเวลา 360 ชั่วโมง ยังไม่คิดถึงหากนายนั้นมีจำนวนอสังหาที่ต้องโพสต์มากกว่านี้ โดยหากนายหน้ามาใช้ระบบช่วยจัดการห้องนี้ จะช่วยลดเวลาการทำงานจาก 2 ชั่วโมงต่อวัน เหลือ 30 นาทีต่อวัน เป็นต้น

    5. คิดโจทย์ใหม่ๆ มาท้าทายสิ่งรอบตัว

      วิธีหาไอเดียแบบนี้คือระดับเทพจริงๆ บริษัทที่ใช้วิธีนี้ เช่น Apple, Tesla และ Microsoft เป็นต้น

      โดยส่วนใหญ่น่าจะเริ่มมาจากการตั้งคำถามแบบ What if …? (ถ้า …?) เช่น “ถ้าเราสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในแบบที่ใครๆ ก็สามารถใช้ได้ล่ะ?” จึงเกิดมาเป็น Tesla ที่เน้นพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานได้ดีขึ้น ในราคาที่ถูกลง รวมถึงรถไฟฟ้าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ 100% สมรรถนะไม่แพ้รถแบบปัจจุบัน วิ่งได้นาน ราคาจับต้องได้

      หรือ “ถ้าทุกคนสามารถพัฒนา Application ให้คนอื่นๆ ได้โหลดมาใช้ใน Smartphone ได้ โดยที่ทางบริษัทไม่ต้องมานั่งพัฒนาเองล่ะ” จึงเกิดมาเป็น App Store ของ Apple ที่เปิดให้นักพัฒนาเข้ามาสร้าง Application ให้ผู้ใช้ Apple ได้โหลดใช้งาน ทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงิน โดยทาง Apple มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบความเหมาะสม โดยไม่ต้องมีทีมมาพัฒนา Application เอง

    สุดท้ายนี้ 3 สิ่งที่ต้องคำนึงสำหรับสตาร์ทอัพรุ่นใหม่คือ

    • ทำในสิ่งที่คุณรัก และมี Passion
    • ทำธุรกิจที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ปัญหานั้นยิ่งใหญ่ยิ่งดี จะสามารถ Scale ธุรกิจให้มีขนานใหญ่ขึ้นได้

    หลังจากได้ไอเดียแล้ว โจทย์ต่อไปก็คือเริ่มทำ Business Plan ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาแชร์ความรู้กันในบทความต่อๆ ไป หรือใครอยากลองดูไอเดียธุรกิจที่เริ่มง่ายในปีนี้ ลองอ่าน 6 ไอเดียธุรกิจ 2021 ที่เราได้แชร์ก่อนหน้านี้ดู

    หากบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมเข้ามาที่ www.hardcoreceo.co บ่อยๆ (หรือค้นหา HardcoreCEO บน Google) เพื่ออัพเดทความรู้ใหม่ๆ หรือจะ Follow เราบน Facebook และ Subscribe เพื่อรับความรู้ทางอีเมลก็ได้เช่นกันครับ

    Reference: Sterling Seizert

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save