เทคนิคการจัดการธุรกิจคลังสินค้าด้วย ABC Analysis

เทคนิคการจัดการธุรกิจคลังสินค้าด้วย ABC Analysis

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    หากมีระบบแบบแผนในการจัดการคลังสินค้าอย่างเหมาะสมย่อมช่วยให้ระบบภายในมีเสถียรภาพ ทำงานง่าย สะดวก ปลอดภัย ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องชัดเจน และยังส่งผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจ ประหยัดต้นทุนแฝงที่อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย นอกจากการมีตัวช่วยอย่างรถยกไฟฟ้า หรือรถแฮนด์ลิฟท์แล้ว รูปแบบจัดการคลังสินค้าที่เรียกว่า “ABC Analysis” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการทำให้ทุกอย่างในคลังสินค้ามีระเบียบแบบแผนชัดเจน

    ตอบข้อสงสัย ABC Analysis คืออะไร

    ABC Analysis คือ หนึ่งในวิธีจัดการด้านคลังสินค้าโดยอาศัยเทคนิคจัดกลุ่มสินค้าคงคลังเพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบจำนวนเพื่อการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น สะดวก ถูกต้อง แม่นยำ ปริมาณสินค้าในคลังมีเพียงพอตามแผนงานและความต้องการลูกค้า ของไม่เหลือเกินสต็อกจนกลายเป็นการจมทุนโดยใช่เหตุ อีกทั้งยังช่วยให้เห็นถึงภาพรวมเกี่ยวกับต้นทุนด้านคลังสินค้าพร้อมควบคุมเป็นไปตามความเหมาะสม

    ทั้งนี้การจัดการคลังสินค้าตามหลัก ABC Analysis ต้องทำการแบ่งสินค้าคงคลังออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละองค์กรอาจมีแนวทางจัดกลุ่มสินค้าโดยอาศัยหลักการแตกต่างกัน เช่น การใช้มูลค่าสินค้าคงคลังจากการถือครองต่อปีจากรายการสินค้าแต่ละประเภท ใช้หลักส่วนแบ่งกำไรจากสินค้า หลักตามมูล่าสินค้าที่ขายออกแต่ละรายการ แต่โดยสรุปแล้วสามารถแยกกลุ่มสินค้า ดังนี้

    • กลุ่ม A – จะเป็นสินค้าเหลือในคงคลังน้อยที่สุด อาจมีแค่ 5-15% แต่มูลค่าสินค้าเมื่อคำนวณเป็นตัวเลขแล้วสูงที่สุดในคลังสินค้าเฉลี่ย 70-80% เลยทีเดียว
    • กลุ่ม B – สินค้าที่เหลือในคงคลังประมาณ 15-30% แต่มูลค่าสินค้าน้อยกว่า 30% ของสินค้าทั้งหมด
    • กลุ่ม C – สินค้าเหลือในคงคลังมากสุดประมาณ 70-80% ขึ้นไป แต่มูลค่าน้อยที่สุดประมาณ 10% 

    การจัดวางสินค้าแต่ละประเภทตามระบบ ABC Analysis

    นอกจากระบบแบ่งประเภทสินค้าออกจากกันชัดเจนแล้ว วิธีจัดวางสินค้าตามแบบ ABC Analysis ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยให้ระบบบริหารจัดการเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับมีทั้งความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน ค้นหาสินค้าง่าย ตรวจเช็กข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ซึ่งการจัดวางตำแหน่งสินค้าทำตามได้ดังนี้เลย

    • ประเภทสินค้าที่ขายดี ต้องวางใกล้ทางเข้าออก เพราะขนส่งบ่อย ไม่ต้องจัดเก็บแบบพิถีพิถันมาก
    • ประเภทสินค้าขายไม่ดี ไม่ค่อยมีคนซื้อหรือขายยาก ส่วนใหญ่มักเอาไว้ด้านใน นาน ๆ จึงจะมีคนซื้อ ลดความเกะกะและไม่เปลืองพื้นที่
    • ประเภทสินค้าขนาดใหญ่ ต้องวางไว้ใกล้ประตูเข้า-ออก เพราะทั้งขนาดน้ำหนักมักสร้างความยุ่งยากต่อการขนย้าย จึงต้องตั้งวางในพื้นที่ประหยัดแรงงานมากสุด เมื่อมีคนซื้อก็ใช้รถยกไฟฟ้าพาออกไปได้เลย

    ระบบการจัดการคลังสินค้าแบบ ABC Analysis คืออีกตัวเลือกที่มีความน่าสนใจและทุกองค์กรสามารถนำไปปรับใช้กันได้เลย ยิ่งมีระเบียบชัดเจนมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพการทำงาน บริหารคลังสินค้าย่อมตามมา ลดความเหนื่อยล้า งานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด หากต้องการอุปกรณ์คลังสินค้าต่างๆ เช่น ชั้นวาง รถยกไฟฟ้า รถลากพาเลท สามารถเข้ามาดูได้ที่ jenstore มีอุปกรณ์คลังสินค้าหลากหลายให้เลือก 

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save