[EP.4] แผนธุรกิจ ความสำคัญ ขั้นตอนการเขียน และข้อคิดเรื่องการเงิน

[EP.4] แผนธุรกิจ ความสำคัญ ขั้นตอนการเขียน และข้อคิดเรื่องการเงิน

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    แผนธุรกิจ คือแผนที่ที่ช่วยกำหนดทิศทางและเป้าหมายของธุรกิจอย่างเป็นระบบซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจมาก ช่วยให้เจ้าของธุรกิจ หรือ Entrepreneur สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจตัวเอง และเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคตได้ ไม่หลุดกรอบออกทะเล ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ การมีแผนธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดซึ่งมีขั้นตอนการเขียนที่ควรทำให้ครบทั้งเรื่อง Business, Marketing, Operation และ Financial

    ในบทความนี้ HardcoreCEO จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนธุรกิจคืออะไร และวิธีการเขียนแผนธุรกิจในขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จในระยะยาว

    แผนธุรกิจคืออะไร

    ก่อนเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการทำแผนธุรกิจ เรามาทำความรู้จักกับแผนธุรกิจแบบเบสิกๆ กันก่อน แผนธุรกิจ คือ Document ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (Vision), เป้าหมาย (Mission), กลยุทธ์ (Strategy) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของธุรกิจอย่างละเอียด เป็นเหมือนแผนที่นำทางสำหรับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการและทีมงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจอีกด้วย

    ในความก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่อง Market Analysis ไปจนถึงเรื่อง SWOT Analysis และ Value Chain Analysis ซึ่งนั่นยังไม่ใช้แผนธุรกิจ เพราะการทำแผนธุรกิจมีขั้นตอนและรายละเอียดที่มากกว่านั้นไปอีก

    แผนธุรกิจมีความสำคัญอย่างไร

    แผนธุรกิจมีความสําคัญมากในการเป็นเข็มทิศนำพาองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างชัดเจน

    • ช่วยกำหนดทิศทางและเป้าหมาย ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของธุรกิจที่ชัดเจนตั้งแต่การเริ่มต้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง กลยุทธ์ ไปจนถึงการขยายตลาด
    • เป็นเครื่องมือสื่อสารกับนักลงทุน โดยนักลงทุนมักใช้แผนธุรกิจเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าจะลงทุนในธุรกิจของคุณหรือไม่ น่าสนใจแค่ไหน มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน การมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนจึงช่วยเพิ่มโอกาสในการระดมทุน
    • ช่วยลดความเสี่ยง เพราะการวางแผนธุรกิจชัดเจนจะทำให้คุณสามารถคาดการณ์ความท้าทายและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเรื่อง คน ระบบ คู่แข่ง ตลาด และปัจจัยอื่นๆ พร้อมทั้งเตรียมวิธีการแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า

    ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ

    ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจที่ HardcoreCEO สรุปมาให้ใน 7 ขั้นตอน

    1. เขียน Executive Summary

      เป็น Paragraph ที่สรุปภาพรวมของธุรกิจสำหรับผู้บริหารแบบสั้นๆ กระชับ แต่ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อให้พออ่านแล้วสามารถเข้าใช้ได้เลยว่าเป้าหมายของเรา ความท้าทาย และแนวทางในการเดินหน้า เป็นอย่างไร

    2. อธิบายภาพรวมของธุรกิจ (Business Overview)

      เป็นข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวม ว่าธุรกิจของเราคืออะไร ทำอะไร อยู่ที่ไหน โครงสร้างเป็นอย่างไร ประวัติความเป็นมา สินค้า และบริการต่างๆ โดยในขั้นตอนนี้สามารถทำ SWOT ประกอบ จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น

    3. การทำ Market Analysis

      นำเสนอว่าสิ่งที่เราได้ไปศึกษามาเกี่ยวกับตลาด การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง แนวโน้ม และ Trend ในอนาคต ซึ่งตรงนี้ก็สามารถทำ STP ได้ด้วย เพื่อให้ได้เห็นภาพว่าในตลาดในกลุ่มเป้าหมายไหนบ้าง และเราจะ Target กลุ่มไหน จะวาง Position อย่างไร

    4. แผนการตลาด (Marketing Plan)

      เล่าเกี่ยวกับวิธีการที่คุณจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ การโฆษณา และการสร้างแบรนด์ รวมถึงความท้าทายในช่องทางการตลาดต่างๆ และจะเอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร

    5. แผนการดำเนินงาน (Operational Plan)

      วางแผนต่อว่าจะดำเนินการแผนต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งเรื่อง คน การขนส่ง ระบบ เทคโนโลยี สินค้า ห่วงโซ่อุปทาน และอื่นๆ

    6. แผนการเงิน (Financial Plan)

      จะเอาเงินมาจากไหน จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรเป็น Fixed Cost อะไรเป็น Variable Cost และธุรกิจจำเป็นต้องมีประแสเงินสด หรือ Cash Flow เท่าไหร่

    7. แผนการเติบโต (Growth Plan)

      ถ้าสามารถทำแผนได้สำเร็จแล้ว จะสามารถขยายธุรกิจออกไปได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการขยายกลุ่มเป้าหมาย ขยายสินค้า ออกนอกประเทศ ส่งออก ฯลฯ

    ข้อควรคิดในการทำ Financial Plan ประกอบแผนธุรกิจ

    • เรื่องการเงินในธุรกิจต้องคิดให้รอบคอบว่าจะเอาเงินที่ไหนมาลงทุน ถ้าเป็นการกู้ยืมตัวเองหรือครอบครัว ควรคิดดอกเบี้ยไว้ด้วย เพื่อให้สมเหตุผลผลตอนเอาไปคิดต้นทุนต่างๆ เพราะหากธุรกิจจะต้องอยู่ได้ด้วยเงินกู้ เมื่อขยายใหญ่ขึ้นอาจใช้เงินตัวเองไม่พอ ซึ่งอาจต้องกู้ธนาคาร ซึ่งตอนนั้นยังไงก็ต้องมีดอกเบี้ย
    • แยก Fixed Cost กับ Variable Cost ออกให้ถูกต้อง และให้รู้ว่า Variable Cost จะเพิ่มหรือลด ขึ่นอยู่กับปัจจัยอะไร
    • เวลาประเมินเงินสดให้เผื่อ Factor หากเกิด Crisis ไว้ด้วย เช่น ถ้าธุรกิจจะไม่มีลูกค้าเลย จะต้องมีเงินเท่าไหร่ ถึงจะยังสามารถยืดเวลาออกไปได้ เช่น ถ้าธุรกิจมีค่าใช้จ่าย Total Cost เดือนละ 400,000 บาท โดยคิดว่าถ้าเกิด Crisis 10 เดือนบริษัทยังต้องอยู่ได้ ก็ควรมี Cash Flow อย่างน้อย 4,000,000 บาท หรือมากกว่า
    • ควรแยกค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่าบบริษัทออกให้ชัดเจน


    เคล็ดลับการเขียนแผนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

    • ใช้ภาษาที่กระชับและชัดเจน
    • ไม่ควรเขียนเยอะเหมือนเขียน Advertorial แต่ควรเป็นการเขียนเชิงธุรกิจ ให้มีหลักการ อ้างอิงได้ มีเหตุผล
    • อย่างเน้นที่เน้นจุดแข็งและความได้เปรียบของธุรกิจอย่างเดียว แต่เน้นที่จุดอ่อนของธุรกิจด้วย
    • ทำการวิจัยตลาดอย่างละเอียด ทั้งโอกาส และความเสี่ยง
    • อัปเดตแผนธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีอะไรที่เซ็ตอัพครั้งเดียวแล้วใช้งาน Forever
    • ควรให้ทีมบริหารทุกคน รวมถึงพนักงาน เข้าใจตรงกันในแผนนี้
    • แผนทั้งหมดต้องทำได้จริง ต้องยืนอยู่บนความเป็นจริงของตัวเราเอง ตลาด เศรษฐกิจ และ ความต้องการของลูกค้า

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save