เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น บริการระบบคลาวด์ AI และ IoT ทำให้องค์กรต่างๆ เติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) กันมากขึ้น ก็ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะโดนโจมตีหรือคุกคามทางไซเบอร์ได้อีกด้วย และนี่คือเหตุผลที่ทำไม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security จึงเข้ามามีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก
จากการศึกษาของ University of Maryland พบว่าเหล่าแฮกเกอร์จำนวนมากพยายามที่จะแฮกระบบในทุกๆ 39 วินาทีโดยเฉลี่ยหรือมากถึง 2,244 ครั้งต่อวัน! แต่ข่าวดีก็คือในปัจจุบันมีนวัตกรรมดิจิทัลในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้สำหรับหลายๆ องค์กรในอาเซียนได้
ดาวน์โหลด Free eBook
ก่อนไปอ่านบทความกัน หากใครต้องการข้อมูลที่ลึกขึ้น สามารถดาวน์โหลด Free eBook หัวข้อ The State of Cybersecurity in ASEAN 2020 โดยคลิกที่ลิงก์นี้ได้เลย www.paloaltonetworks.com/free-ebook
การสำรวจด้าน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security ใน ASEAN
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 ได้มีการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Palo Alto Networks กับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT และผู้นำทางธุรกิจของประเทศในอาเซียนได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมาจากหลากหลายภาคส่วนของธุรกิจ ตั้งแต่ พนักงานการเงิน การสาธารณสุข การศึกษา การผลิต และการขนส่ง ทั้งองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีผู้บริหารประมาณ 17% พนักงานฝ่าย IT ที่ดูแลเครือข่ายและระบบอีก 83%
ผลจากการสำรวจได้ค้นพบว่ามีองค์กรในอาเซียนที่ลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นถึง 73% ในช่วงปี 2019 – 2020 ทำให้องค์กรต่างๆ มีความมั่นใจในความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรตนเองเพิ่มขึ้นขึ้นตามไปด้วย
จากผลการสำรวจพบอีกว่าพนักงานขององค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่องค์กรมีนั้นยังไม่ดีนัก ทำให้องค์กรบางส่วนอาจมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินแบบดิจิทัลบน e-commerce ได้
ในส่วนขององค์กรในประเทศไทยเองก็มีการลงทุนในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นถึง 75% รองมาจากประเทศอินโดนีเซียที่ลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 84% และประเทศสิงคโปร์ที่ลงทุนเพิ่มขึ้น 79% โดยในภาพรวมขององค์กรในอาเซียนได้จัดสรรงบประมาณอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของฝ่าย IT ในการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร
เหตุผลที่องค์กรต่างๆ เพิ่มการลงทุนในด้าน Cyber Security ก็มีหลากหลายเหตุผลด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการคุกคามทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้น เพิ่มความซับซ้อนต่อการคุกคามทางไซเบอร์ ต้องทำการอัปเกรดความปลอดภัยไปตามเทคโนโลยีอัตโนมัติที่องค์กรนำมาใช้มากขึ้น มาจากผลของการประเมินความเสี่ยง เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่ง และบางองค์กรอาจเคยมีประสบการณ์ที่ถูกคุกคามทางไซเบอร์มาก่อน
โซลูชันด้าน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Solutions)
สำหรับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Solutions) ขององค์กรที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรกนั้นได้แก่
- Anti-malware/antivirus 71%
- Could native security platform 58%
- Software-defined wide area network (SD-WAN) 55%
- Next-generation firewall 50%
- Encryption 42%
นี่เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั้นจากผลสำรวจที่นำมาฝากกัน ยังมีหัวข้อของผลการสำรวจที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน รวมทั้งค่าเฉลี่ยของภาพรวมในอาเซียนทั้งหมดด้วย สามารถอ่านผลจากการสำรวจในหัวข้อความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) มีความสำคัญอย่างไรต่ออาเซียนในปี 2020 แบบเต็มๆ ได้เลยที่นี่ www.paloaltonetworks.com/free-ebook
ประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นผู้นำของอาเซียนในด้าน mobile banking, cryptocurrency และ e-commerce แต่ยังมีปัญหาจากปัจจัยภายใน อย่างการขาดผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง ผู้จัดการและพนักงานยังคงขาดความรู้ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้การเพิ่มทักษะพนักงานขององค์กรในด้าน Cybersecurity ให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพื่อขับเคลื่อนองค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างปลอดภัยและมั่นคงมากยิ่งขึ้น