Live Streaming Ecommerce กับการ Live ขายของแบบจีนๆ มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญ

Live Streaming Ecommerce กับการ Live ขายของแบบจีนๆ มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญ

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    ในช่วงสองปีที่ผ่านมา Live Streaming หรือ การ Live ขายของ หรือ ไลฟ์สด ที่พวกเราคุ้นเคยกัน กลายเป็นช่องทางการจับจ่ายที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคชาวจีน โดยมีผู้ใช้ชาวจีนมากกว่า 300 ล้านคน ใช้เป็นช่องทาง Entertainment หาเรื่องราวที่พวกเขาสนใจ รวมถึงการดูสินค้าใหม่ๆ ดูรีวิวผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก หรือใหญ่ก็ล้วนให้ความสำคัญกับการขายของผ่านทางไลฟ์สด โดยพบว่า 90% ของแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดใน Tmall ก็ได้ทำการ Live Streaming ในช่วง 11.11 เช่นกัน.. แบรนด์ที่ทำยอดขายได้มากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และแบรนด์ความงาม เช่น Huawei, Estee Lauder, Lancome, Haier, Xiaomi, L’Oreal, Shiseido และ La Mer

    Live Streaming หรือ การ Live ขายของ ในประเทศจีน ไม่ใช่แค่ทางเลือกของการทำออนไลน์ แต่คือเครื่องมือสำคัญของอีคอมเมิร์ซในปีนี้

    การ Live ขายของเป็นสมรภูมิสำคัญสำหรับแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งระดับโลก อย่างเช่น 11.11 เป็นต้น ตามรายงานจาก Taobao Live Platform ของ Alibaba ระบุว่า GMV (Gross Merchandise Value) ทั้งหมดที่มาจากการไลฟ์สดในช่วง 11.11 ปี 2020 เติบโตกว่า 100% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในปี 2019 Live Streaming มีมูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านหยวนหรือ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐของยอดขายทั้งหมด (forbes.com)

    Live Streaming Ecommerce คืออะไร

    การ Live สดขายของ ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Live Streaming Ecommerce คือ โมเดลที่ ธุรกิจค้าปลีก Influencer หรือดารา ทำการขายสินค้า หรือบริการ ผ่านการไลฟ์สดบน Social Media เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสินค้า ทดลองใช้งาน ให้ดูตัวอย่างสินค้า แจกโปรโมชั่น และอีกมากมาย ซึ่งจุดเด่นคือการไลฟ์สดขายของเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดการสื่อสารทั้งตัวผู้นำเสนอ และลูกค้าในเวลาเดียวกัน หมายถึงผู้ชมก็สามารถสอบถามผ่าน Comment ในขณะที่ผู้ที่กำลัง Live สดอยู่ก็สามารถอ่าน Comment และตอบคำถามที่ลูกค้าสงสัยอยู่ได้ทันที ส่งผลให้เกิดการปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว

    การ Live ขายของ ไลฟ์ขายของ ไลฟ์สด ให้คนดูเยอะ ขายดี
    ตัวอย่างการ Live ขายของบนแพลทฟอร์มจีน ภาพซ้ายคือ Loyalty Level เหมือนเป็น Level บอกว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นแฟนตัวจริงแค่ไหน ภาพขวาคือ Action ที่ทำให้ผู้ใช้ Level Up

    แพลทฟอร์มการ Live สดขายของในจีนจะมี Feature ให้เล่นเต็มไปหมด เพื่อให้มีความน่าสนใจ สนุก และ มีคนเข้ามาดูไลฟ์เยอะ โดยอีกหนึ่ง Feature ที่น่าสนใจคือ Loyalty Level ซึ่งเป็นเหมือน Level ของผู้ใช้แค่ละคน บ่งบอกว่าเป็นแฟนตัวจริงของช่องนี้ หรือร้านนี้มากแค่ไหน โดยการซื้อของแต่ละครั้งก็จะได้รับ Point เพิ่ม และ Level Up ซึ่งหากมี Level ที่สูง บางครั้งทางร้านก็จะให้คูปองส่วนลดมากเป็นพิเศษ ส่งเสริมให้ให้ลูกค้ามี Loyalty ในตัวร้านที่สูงขึ้น และยังสนุกไปกับการ Live ขายของอีกด้วย

    ซึ่งการ Live สดขายของในไทย เราจะคุ้นเคยกันบนหลายช่องทางขายของออนไลน์ โดยเฉพาะ Social Media เช่น Facebook, Tiktok และ Instagram แต่ในจีนตอนนี้ได้ขยายไปถึงการไลฟ์บนแพลทฟอร์ม Ecommerce แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Alibaba หรือ Taobao ซึ่งการขายของผ่านการ Live สดในจีนถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ และกำลังเติบโตสูงมาก โดยในปี 2019 พบว่า 37% ของนักช้อปออนไลน์ในจีน (265 ล้านคน) ซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Live Streaming

    จุดเด่นของ การ Live ขายของ ทำไม Live Streaming จึงเป็นที่นิยม

    • ลูกค้าได้รับประสบการณ์ไม่แพ้การซื้อจากหน้าร้าน เพราะสามารถเห็นสินค้าจริง การใช้งานจริง และเห็นสินค้าหลายตัว สามารถเลือกได้ตามต้องการ
    • มีความสนุกในการช้อปมากกว่า เพราะจะต้องนั่งลุ้นดูว่าสินค้าต่อไปจะเป็นอะไร สามารถพิมพ์คุยกับคนที่ไลฟ์อยู่ได้ ซึ่งหากคนไลฟ์สนุก ก็จะยิ่งทำให้ผู้ชมอย่างนั่งชมเพลินๆ ไปเรื่อยๆ เป็นการ Entertain อีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วม เช่น เล่นเกม ถามคำถาม ตอบคำถาม
    • กระตุ้นให้เกิด Sense of Urgency เช่น หากมีคนคอมเมนต์สั่งซื้อกันเยอะๆ อาจทำให้อีกคนที่กำลังตัดสินใจอยู่ รีบตัดสินใจเร็วกว่าเดิม เพราะกลัวว่าถ้าช้าแล้วของจะหมด เป็นต้น

    ในประเทศจีน ส่วนใหญ่คนจะดูไลฟ์ขายของผ่านสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์ ทำให้แพลทฟอร์มของจีนจะเน้นการพัฒนา Feature ต่างๆ บนมือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งการซื้อขายผ่านการไลฟ์สดกว่า 85% ในปี 2019 เกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งก็จะยิ่งกระตุ้น Sense of Urgency ได้มาก เนื่องจากการเล่นมือถือของคนเราจะไม่ได้จริงจังเท่ากับการเปิดคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าอะไรน่าสนใจ ก็จะทำให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังกดสั่งซื้อ และชำระเงินผ่านโทรศัพท์ได้ง่ายๆ อีกด้วย

    ลักษณะของ Live Streaming ที่ประเทศจีนใช้มีดังนี้

    แบรนด์ Live เอง

    จากข้อมูลของ Taobao Live พบว่า 90% ของแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดใน Tmall ได้ทำการ Live Streaming ในช่วง 11.11 โดยแบรนด์ที่ทำยอดขายได้มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และแบรนด์ความงาม เช่น Huawei, Estee Lauder, Lancome, Haier, Xiaomi, L’Oreal, Shiseido และ La Mer

    โดยข้อดีของการที่แบรนด์ออกมา Live เองนั้น นอกจากจะช่วยชดเชยยอดขายจากออฟไลน์ที่โดนผลกระทบจากโรคระบาดไปเต็มๆ แล้ว แบรนด์จะยังได้ควบคุมภาพลักษณ์ของแบรนด์เองได้ดีกว่าการใช้ KOL หรือ ดารามาไลฟ์ผ่านช่องทางของตัวเอง

    เจ้าของแบรนด์ หรือ CEO มา Live เอง

    แม้การที่เจ้าของแบรนด์ดังต่างๆ ออกมา Live เองอาจจะไม่ได้ช่วยดึงดูดหรือสร้างความตื่นเต้นให้คนดูเท่าไหร่ และอาจไม่ได้สร้างยอดเท่ากับการให้ Celebrity หรือดารามา Live แต่การปรากฏตัวบน Live ของเจ้าของแบรนด์ จะช่วยในการนำเสนอนวคิด ทัศนคติ และ Core Value ของแบรนด์นั้นๆ ซึ่งก็จะช่วยสงเสริมในส่วนของความน่าเชื่อถือ และอาจส่งผลมาเป็นยอดขายภายหลังได้

    ดังเช่นความสำเร็จของเทศกาลช้อปปิ้งอย่าง 11.11 ของปีที่แล้ว การ Live Streaming ในครั้งนั้น ก็มี CEO และผู้บริหารแบรนด์ประมาณ 400 รายจาก บริษัท ทุกขนาด เข้าร่วมสตรีมแบบสดบน Taobao Live ของอาลีบาบาด้วยเช่นกัน

    ให้ Celebrity หรือ Influencer มา Live

    ส่วนใหญ่การไลฟ์โดยนำดาราหรือคนที่เป็นที่รู้จักมักจะได้รับความนิยมที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน โดยการให้ Influencer หรือ Celebrity มา Live จะสามารถช่วยดึงกลุ่มแฟนๆ เข้ามาชม Live ด้วย ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ในด้านการขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย

    การให้ Celebrity หรือ Influencer มา Live สามารทำได้ 2 แบบ คือ เอามาไลฟ์ในช่องทางของแบรนด์ หรือเอาไปไลฟ์ในช่องทางของ Influencer นั้นเลย

    Live Streaming จาก Social Media และ Marketplace อื่นๆ

    แม้ว่า Taobao Live ดูจะเป็นเจ้าใหญ่ในการทำอีคอมเมิร์ซแบบ Live Streaming แต่ที่น่าสนใจในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งอย่าง 11.11 ของปีที่ผ่านมา มีแพลตฟอร์ม Live Streaming หน้าใหม่ที่ทำรายได้จากการขายในครั้งนี้ไปได้มากถึง 3.2 พันล้านหยวน (500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ชื่อว่า Kuaishou (อ่านว่า ไคว่โฉ่ว) ในขณะที่ Douyin (โต่วอิน) หรือที่รู้จักกันในนาม TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดังนั้น ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการสร้างรายได้นอกประเทศจีน

    กลยุทธ์การขายของออนไลน์แบบจีนๆ ไม่ได้มีแค่นี้ เอาไว้มาดูกันต่อในบทความต่อไป!

    หากคุณชอบบทความนี้ และเรื่องราวธุรกิจในยุคดิจิทัล สามารถเข้ามาที่ www.hardcoreceo.co ได้ทุกสัปดาห์ (หรือค้นหา HardcoreCEO บน Google)

    และที่สำคัญ Follow เราบน Facebook HardcoreCEO พร้อมกด See First เพื่อรับบทความธุรกิจสดๆ ร้อนๆ ก่อนใครจาก HardcoreCEO

    เขียน: Jittima K., เรียบเรียง/พิสูจน์อักษร: HardcoreCEO

    References: nngroup.com, forbes

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save