[EP.2] สรุปครบ Entrepreneurial Mindset ที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องมี

[EP.2] สรุปครบ Entrepreneurial Mindset ที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องมี

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    ก่อนหน้านี้ใน EP.1 เราได้เปิดเนื้อหาของซีรีส์นี้เกี่ยวกับการเป็น Entrepreneur และ Entrepreneurship ไปแล้ว รวมถึงได้แชร์ 5 ประเภทองค์กรที่ผู้ประกอบการมือใหม่สามารถดูเป็นแนวทางได้ว่าธุรกิจที่กำลังจะทำควรเป็นองค์กรประเภทไหน โดยใน EP.2 นี้เราจะมาพูดเพิ่มเติมในสิ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือ Entrepreneurial Mindset หรือแนวคิดของผู้ประกอบการ

    เหตุผลที่ Entrepreneurial Mindset มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนควรเข้าใจ และนำไปปรับใช้ในการทำธุรกิจ ก็เพราะว่า “การทำธุรกิจไม่ได้ง่าย” ระหว่างการเดินทางนั้นคุณอาจเจอกับอุปสรรคมากมาย ซึ่ง Mindset เหล่านี้จะช่วยให้คุณเดินหน้าได้อย่างแน่วแน่

    การมี Mindset ในการทำธุรกิจที่ดี จะช่วยให้คุณรู้ว่าสถานการณ์ไหนควรวางตัวอย่างไร แนวทางในการคิดควรเป็นประมาณไหน

    HardcoreCEO

    Entrepreneurial Mindset คืออะไร

    Entrepreneurial Mindset คือ วิธีการคิดที่ทำให้คุณสามารถผ่านพ้นทุกอุปสรรคและความท้าทายที่เข้ามาได้ กล้าที่จะตัดสินใจ พร้อมกับรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น เป็นแนวคิดของผู้ประกอบการธุรกิจพึงมี เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน ทักษะในการเข้าสังคม เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และค้นหาวิธีแก้ไข เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะการเป็น Entrepreneur ที่ดี ต้องผ่านการฝึกฝน และการมี Entrepreneurial Mindset ที่ดีก็เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนเช่นกัน

    ตัวอย่าง Quote ที่สะท้อนถึง Entrepreneurial Mindset

    การเข้าใจ Mindset ของผู้ประกอบการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการฟังหรือสังเกตจากคนที่ประสบความสำเร็จ โดย HardcoreCEO ลองรวม Quote บางส่วนที่สะท้อนถึง Mindset ได้ดี

    Mindset ใน Quote นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยเพราะขอกระซิบว่า เมื่อคุณเริ่มทำธุรกิจแล้ว คุณจะพยักหน้าเห็นด้วยกับทุก Quote

    • It’s not about the idea. Its about making ideas happen. – Scott Blesky
    • You don’t learn to walk by following rules. You learn by doing, and by falling over. – Richard Branson
    • When something is important enough, you do it even if the odds are not in your favor. – Elon Musk
    • Do something you are passionate about because it won’t feel like work. This way you will work harder and longer. – Neil Patel
    • A wise man never knows all, only fools know everything. – Neil Patel
    • Invite people into your life that don’t look or think like you. – Mellody Hobson
    • As an entrepreneur, you work out solutions. – Les Wexner
    • In order to carry a positive action, we must develop here a positive vision. – Dalai Lama
    • If opportunity doesn’t knock, build a door. – Milton Berle
    • Every accomplishment starts with the devision to try.

    จากที่เราได้ลิสต์มาจากประสบการณ์ตรงรวมถึงผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เราจะมาสรุป 6 Entrepreneurial Mindset กัน ว่ามีอะไรบ้าง

    6 Entrepreneurial Mindset ที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ

    1. กล้าตัดสินใจ

    ผู้ประกอบการจะสามารถดำเนินธุรกิจให้สำเร็จได้ ก็ต้องกล้าเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลและสถานการณ์ที่มีตรงหน้า เพื่อนำประกอบการตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด โดยการตัดสินใจแต่ละครั้งนั้น คือตัววัดว่าธุรกิจจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ หรือเป็นการตัดโอกาสทางธุรกิจให้พัฒนาขึ้นกันแน่

    ธุรกิจหลายครั้งที่ล้มเหลว เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังมาถึงทางตันและไม่รู้จริง ๆ ว่าควรจะรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าอย่างไรดี ก็อาจจะให้เวลากับมันสักนิด อย่าได้เร่งด่วนตัดสินใจมากจนเกินไป

    การที่จะตัดสินใจได้ดีคุณต้องมีข้อมูลที่มากพอ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาได้รอบด้าน และใช้ข้อมูลเหล่านั้นมา Backup การตัดสินใจ

    HardcoreCEO

    99% ของคนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงจะต้องมีความสนใจจะเริ่มธุรกิจจริงๆ แล้วแหละ เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า อ่านต่อเลยครับ!

    2. มีความมั่นใจ

    อีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญอย่างมากสำหรับการเป็นผู้ประกอบการก็คือเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะการที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องลงมือทำด้วยความมั่นใจทั้งสิ้น โดยต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ตัวเองนั้นกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไปอย่างเช่นการพูด

    นอกจากความมั่นใจในตัวเองแล้ว ต้องมีความมั่นใจในตัวสินค้าด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เปิดตัวสินค้าไปแต่ตัวเจ้าของเองยังงงๆ อยู่ ยังไม่มั่นใจว่าจะดีจริงไหม แบบนี้ไม่เวิร์คแน่ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคุณยังทำการบ้านไม่มากพอ

    “ความมั่นใจ” จะส่งผลต่อ “ความเชื่อมั่น” ทั้งความเชื่อมั่นจากลูกค้า ความเชื่อมั่นจากหุ้นส่วน และความเชื่อมั่นจากพนักงาน ดังนั้นถ้าวันนี้คุณยังรู้สึกไม่มั่นใจในเรื่องไหน แปลว่าคุณอาจจะยังศึกษาเรื่องนั้นไม่มากพอ ลองใช้เวลาหาคำตอบว่าอะไรที่ทำให้คุณยังไม่มั่นใจ แล้วไปศึกษาในจุดนั้นเพิ่มเติม หรือแก้ไขในส่วนนั้นๆ

    3. มีความรับผิดชอบสูง

    การเป็นผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง เพราะไม่ว่าจะเป็นงานใด การตัดสินใจใดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ต่างก็อยู่ภายใต้ชื่อของคุณในฐานะเจ้าของบริษัททั้งสิ้น ไม่ว่าใครจะอยู่เบื้องหลัง และไม่ว่าผลที่ออกมาเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบก็ตาม

    Mindset ในด้านความรับผิดชอบจึงค่อนข้างสำคัญ ยิ่งหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา เจ้าของกิจการควรจะต้องชี้นิวไปที่ตัวเองก่อน และไม่ควรชี้นิ้วไปที่คนอื่นหรือโทษคนอื่น ซึ่งการมี Mindset นี้จะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาจริงๆ และรู้ว่าจะต้องเข้าไปแก้ที่ไหน เพราะถ้ามัวแต่ชี้นิ้วไปที่คนอื่น สุดท้ายแล้วจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็น Toxic Workplace

    แน่นอนว่าบางทีอาจเป็นความผิดพลาดจากทีมงานบางคน ซึ่งก็อาจต้องมีการลงโทษกันไปตามเงื่อนไข แต่สุดท้ายแล้ว เจ้าของกิจการก็มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น พนักงานลงข้อมูลผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดจากความสะเพร่าของพนักงานส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง เจ้าของกิจการอาจต้องลองกลับมาดูว่าเครื่องมือที่ใช้ลงข้อมูลนั้นเหมาสมหรือเปล่า หรือสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาจับเพื่อลดความผิดพลาดจากคน หรือ Human Error ได้หรือไม่ แบบนี้ก็จะทำให้ความผิดพลาดลดลง แก้ปัญหาได้ในระยะยาว

    4. ล้มแล้วลุก

    ความผิดพลาดมีโอกาสที่จะเดินมาหาทุกคนเสมอ ไม่ว่าจะตัดสินใจพลาด คิดไม่รอบด้าน โดนโกง หรือโดนคู่แข่งฟาดฟันจนเสียหาย ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ว่าแต่ละคนจะรับมือกับมันอย่างไร จะยกธงขาวยอมแพ้ไปง่ายๆ หรือจะใช้มันเป็นบทเรียนและเรียนรู้จากมัน

    บางครั้งการเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวอาจ Fail ได้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อ Fail แล้ว เราจะลุกขึ้นมาสู้ต่อได้แค่ไหน.. ความสำเร็จวัดกันที่ตรงนี้

    เราอยากลองแชร์ตัวอย่างความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้พอเห็นภาพและเตรียมใจเอาไว้ รวมถึงเราอยากให้มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่อยากให้มองว่าตัวเองดวงไม่ดี อาจเป็นเพราะคุณยังศึกษาหรือเตรียมตัวไม่มากพอมากกว่า

    • ออกสินค้าใหม่แล้วไม่โดนใจลูกค้า
    • ออกแคมเปญโฆษณาหรือโปรโมชันแล้วลูกค้าไม่ตอบสนอง
    • ยิงโฆษณาในช่วงแรกๆ แล้วยังไม่มีคนซื้อ
    • สอนงานพนักงานใหม่ ทำงานไม่นานก็ลาออก
    • พนักงานขอขึ้นเงินเดือน ถ้าไม่ขึ้นจะลาออก
    • เงินทุนหมดก่อนที่วางแผนไว้ ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ
    • หุ้นส่วนโกง
    • หุ้นส่วนขอถอนทุนคืน
    • คู่แข่งตัดราคา
    • Supplier ขึ้นราคา
    • วิกฤตเศรษฐกิจ

    ปัญหาเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิด การคิดล่วงหน้า หรือทำ SWOT ไว้ก่อนช่วยให้เจ้าของกิจการหาวิธีป้องกันก่อนได้ และอย่าลืมลองคิดเผื่อดูด้วยว่า ถ้าป้องกันแล้วยังเกิดขึ้น จะรับมือกับมันอย่างไร

    5. ถ่อมตัว

    ความถ่อมตัวคือคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องมีไว้คู่กาย เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้คุณสละความภาคภูมิใจความเย่อหยิ่ง หรืออีโก้ ที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้คุณกลายเป็นนำครึ่งแก้ว เป็นคนที่พร้อมเปิดรับไอเดียใหม่ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

    ความถ่อมตัวจะยังช่วยให้คุณ “ผิดเป็น” และ “โทษตัวเองเป็น” ทำให้เห็นจุดอ่อนของตัวเอง หรือสิ่งที่ตัวเองยังศึกษาไม่ลึกพอ ซึ่งถือเป็นการให้ Feedback ตัวเอง ช่วยเปิดโอกาสให้ออกไปหาความรู้ต่อยอดเพิ่มเติม

    เหมือน Quote ก่อนหน้านี้ “A wise man never knows all, only fools know everything. – Neil Patel” แปลง่ายๆ คือ “คนโง่เท่านั้นที่คิดว่าตัวเองรู้ทุกอย่าง”

    หรืออย่างที่ Steve Jobs บอกว่า “Stay hungry, stay foolish” เพราะในโลกนี้มีสิ่งมากมายให้เรียนรู้ตลอด ผู้ประกอบการที่ดีควรกระกายต่อการเรียนรู้ เปิดรับความคิดเห็นจากคนอื่นๆ

    6. มองถึงโอกาสและความเป็นไปได้

    เมื่อเจอความท้าทายหรือไอเดียธุรกิจที่ดูยาก คนทั่วไปอาจมองว่า “ไอเดียนี้อาจเป็นไปได้ แต่ยาก” ในขณะที่หลายคนที่ประสบความสำเร็จมองว่า “ไอเดียนี้อาจยาก แต่เป็นไปได้”

    มุมมองนี้สะท้อนให้เห็นถึง Mindset ที่มองถึงโอกาสและความเป็นไปได้โดยไม่แคร์เรื่องความยาก เพราะถ้าทำเรื่องง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ แต่เรื่องยากๆ อาจมีไม่กี่คนที่พร้อมลงมือทำ ซึ่งเมื่อเจอเรื่องยาก ที่มีความเป็นไปได้เชิงธุรกิจ นี่แหละที่ขุมทรัพย์ใหม่ที่น่ากระโดดลงไปเล่น โดยไม่ต้องไปสู้กับธุรกิจอื่นๆ ในมหาสมุทรสีเลือด หรือ Red Ocean

    If opportunity doesn’t knock, build a door.

    Milton Berle

    อย่างไรก็ตาม ถ้าจะคิดไปเองว่าเป็นไปได้คงจะไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นผู้ประกอบการที่ดี แต่จะต้องทำการวิเคราะห์รอบด้านเสียก่อน ไม่ว่าจะด้วย SWOT เพื่อให้ได้เห็นถึง จุดอ่อน จุดแข็ง คู่แข่ง และโอกาส รวมไปถึงการวิเคราะห์ตลาด

    Entrepreneur Mindset คือสิ่งที่เราอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจก่อนที่จะไปเจาะลึก EP อื่นๆ ในซีรีส์นี้ เพื่อที่จะได้มีเวลาปรับจูน Mindset ตัวเองก่อนเริ่มธุรกิจ และพบกันใน [EP.3] การวางแผนเงินทุนธุรกิจ การเงินเบื้องต้น และค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save