เทคนิคการสร้างทีมงานคุณภาพสำหรับหัวหน้าทีม กระตุ้นการทำงานเป็นทีมในบริษัท

เทคนิคการสร้างทีมงานคุณภาพสำหรับหัวหน้าทีม กระตุ้นการทำงานเป็นทีมในบริษัท

อัพเดทความรู้ธุรกิจตรงถึงอีเมล



    อัพเดทผ่าน LINE

    หรือปรึกษาเราเรื่องธุรกิจ

    ติดตาม Facebook

    กด See First ด้วยนะครับ

    2021 และต่อจากนี้ คือ โลกการทำงานแห่งการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้คนหลากหลายประเภท หลากหลายที่ว่านี้เป็นได้ตั้งแต่ความคิดที่หลากหลาย ภาษาที่หลากหลาย หรือ ภูมิหลังของแต่ละคนที่ต่างกัน เนื่องจากอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงง่าย และ Software ต่างๆ ที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อคนจากทั่วโลก.. เมื่อคนหลากหลายประเภทมาทำงานร่วมกันแน่นอนว่าปัญหาในการบริหารทีมย่อมเกิดขึ้นได้เป็นปกติ การทำงานเป็นทีม จึงเป็นสิ่งสำคัญ และบทความนี้เราจะมาแชร์กันว่า การทํางานเป็นทีมให้ประสบความสําเร็จ มีขั้นตอนอย่างไร

    บทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวิธีที่จะทำให้สมาชิกในทีมที่มีความหลากหลายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ผ่านการมีสิ่งที่เรียกว่า Teamwork คำง่ายๆ ที่ทุกคนค้นเคย แต่จะสร้าง Teamwork ให้เวิร์คมีอะไรมากกว่านั้น

    ก่อนจะเข้าเรื่องบทบาทของผู้บริหาร และ Manager ในการสร้าง Teamwork และเทคนิคในการสร้าง Teamwork เพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ เราขอย้อนไปทำความรู้จักก่อนว่า Teamwork จริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ เพราะบางคนอาจมีความเข้าใจผิดอยู่ ซึ่งหากเข้าใจผิด จะส่งผลให้เกิด Attitude ในการบริหารทีมที่ผิด

    Teamwork คืออะไร?

    ในการทำงานภายในทีม หรือกลุ่ม สิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้เพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จตามที่ความคาดหวัง คือ การมีสิ่งที่เรียกว่า “Teamwork” หรือ “ความร่วมมือร่วมใจภายในทีม” ซึ่งการมี Teamwork นั้น ไม่ใช่เพียงแค่การรวมตัวกันของกลุ่มคนเพื่อมาทำงาน..

    การทำงานเป็นทีม หรือ Teamwork คือ การทำงานที่สมาชิกแต่ละคนกำหนดเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน มองเห็นทิศทางการทำงานเดียวกัน ร่วมกันวางแผนงาน ตลอดจนวางระบบการทำงานที่ดี ทุกคนรู้ภาระหน้าที่ของตนเอง มีการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และที่สำคัญคือสามารถให้ Feedback เพื่อการประเมินผลและแก้ไขปัญหาให้ทีมได้ ท้ายที่สุดแล้วทุกคนทำเพื่อผลสำเร็จเดียวกันที่เป็นภาพรวมของทีม

    ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

    ถ้าทีมพัง ทุกอย่างก็จะไปสามารถเดินหน้าต่อได้.. หนักกว่านั้น ถ้าในทีมกลายเป็น Toxic Workplace บรรยากาศการทำงานจะแย่ลงทันที.. Teamwork จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ในการทำงานเป็นทีม เนื่องจากการมีทีมที่ดีจะส่งผลทั้งต่อตัวงานและต่อตัวคน

    งานที่ดีย่อมเกิดมาจากการทำงานทีมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ สมาชิกทุกคนในทีมรู้หน้าที่ตนเอง ทำงานด้วยความตั้งใจอย่างเต็มที่.. และถ้าทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน เห็นภาพปลายทางภาพเดียวกัน ก็จะยิ่งให้การบริหารงานในทีมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

    ซึ่งถ้าทุกคนได้แชร์เป้าหมายเดียวกัน การร่วมมือกันทำงานก็จะเกิดขึ้น เช่น หากมีใครคนใดคนหนึ่งติดปัญหา คนอื่นๆ ก็จะเข้ามาช่วยโดยที่ไม่ต้องขอ หรือไม่ต้องเอาข้อแลกเปลี่ยนอื่นมาแลกเพื่อเข้าไปช่วย ซึ่งแต่ละคนก็จะต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาในการสอดส่องจุดบกพร่อง เพราะหากโปรเจคนั้นไม่สำเร็จ มันจะกระทบกับคนทั้งทีม ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ซึ่งความคิดแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย..

    เพราะหลายๆ ครั้งเวลาโปรเจคไม่สำเร็จ คนส่วนใหญ่ชอบชี้ไปที่คนใดคนหนึ่ง และโทษว่าเป็นความผิดคนนั้น นั่นหมายความว่า คนเหล่านี้ยังมีความคิดว่า Teamwork คือการทำงานแบบต่างคนต่างทำ แล้วเอางานมารวมกัน ซึ่งถ้าใครทำดีที่สุดในทีมหัวหน้าน่าจะชอบ.. แบบนี้คือความคิดที่พัง! พังมากๆ และจะทำให้ทีมพังกันไปทั้งหมด

    ในฐานะหัวหน้าทีม ผู้บริหาร หรือผู้จัดการ การสร้าง Teamwork ตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะมันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาสั้นๆ มันคือการปรับ Attitude ของคนด้วย

    การสร้าง Teamwork ให้เกิดขึ้นในทีม นอกจากจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในทีม ยังส่งผลไปถึงระดับแผนก และองค์กร เพราะการมี Teamwork คือการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และความสุขในการทำงานของคนในทีม ระบบการทำงานที่ดีจะทำให้พนักงานในองค์กรทุกคนย่อมอยากที่จะพัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่ให้งานถัดไปบรรลุผลสำเร็จต่อไป การที่พนักงานทุกคนมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เติบโตไปด้วยกัน องค์กรก็จะเติบโตไปเรื่อยๆ

    อีกหนึ่งเคล็ดลับในการสร้างทีมคือต้องดูตั้งแต่ตอนสมัครเลยว่าคนๆ นั้นมี Entrepreneurial Mindset หรือเปล่า

    บทบาทของหัวหน้าทีมในฐานะ Manager หรือ ผู้บริหาร

    Manager และผู้บริหาร ถือได้ว่าเป็นตัวแปรที่ สำคัญที่สุด ในการสร้างทีมที่ดี การเป็นผู้ประกอบการที่ดีจึงควรบริหารจัดการทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    70% ของความหลากหลายในการร่วมมือของทีมเกิดการตัดสินใจของหัวหน้า อาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของ Teamwork ต้องย้อนกลับไปที่ว่าหัวหน้าทีมเป็นอย่างไร

    ในการทำงาน หัวหน้าทีมควรสร้าง Team Standard และ Team Expectation เพื่อให้สมาชิกภายในทีมเห็นภาพความสำเร็จร่วมกันและเห็นภาพคำว่า “ทีมที่ดี” ร่วมกัน เมื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันดังนี้ ทุกคนในทีมจะเข้าใจตรงกันอย่างเป็นรูปธรรมว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

    นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือหัวหน้าทีมไม่ควรเดาไปก่อนว่าลูกน้องรู้หรือไม่รู้อะไร แต่ควรมีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันอยู่เสมอระหว่างหัวหน้ากับสมาชิก และสมาชิกกับสมาชิก

    ถัดมา ในเรื่องของการแบ่งงาน หัวหน้าควรรู้จักลูกน้องของตัวเองดี ว่าใครถนัด และไม่ถนัดอะไร เพื่อแจกจ่ายงานที่จะได้เข้ากับความสามารถของสมาชิกในทีมมากที่สุด

    Related Posts

    1. อุปกรณ์ work from home การบริหารทีม พนักงาน ทำงานที่บ้าน
    2. Value Chain คือ อะไร value chain analysis

    อย่างไรก็ตาม หัวหน้าเองก็ไม่ควรลืมที่จะถามความสมัครใจของสมาชิกทุกครั้งเมื่อมอบหมายงาน รวมถึงถามด้วยว่าสามารถไหม ไหวหรือเปล่า เพื่อให้ได้ทราบว่าลูกทีมยังต้องการความช่วยเหลือ หรือ Support ในส่วนไหนบ้าง

    และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในฐานะหัวหน้าของทีม คือ การคอยสอดส่องและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมเสมอ คอยถามและดูแลความเรียบร้อยภายในทีม เพราะหัวหน้าคือผู้ที่เห็นทีมและงานในภาพใหญ่ ดังนั้น ผู้ที่คอยไกด์ให้ทีมเดินไปในทิศทางตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ก็คือหัวหน้าทีม

    5 เทคนิคการสร้างทีมและ Teamwork

    1. ตั้ง Goal, Team Standard และ Team Expectation

    รากฐานที่สำคัญของการมี Teamwork คือการที่สมาชิกภายในทีมเห็นภาพเดียวกันและเข้าใจการปฏิบัติ และการดำเนินงานแบบเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถสร้างได้ผ่านสามหัวข้อ ดังนี้

    • Goal คือ การร่วมกันตั้งเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน ให้ทุกคนเห็นเป็นภาพเดียวกัน ไม่ควรซับซ้อน ควรเป็นเป้าหมายหลักๆ เป้าหมายเดียว
    • Team Standard คือ การตั้ง นิยามของคำว่าว่า “ทีมที่ดี” คืออะไร ร่วมกันกำหนดว่าอะไรคือคือแนวปฏิบัติที่จะพาทีมไปยัง Goal ที่ตั้งไว้
    • Team Expectation คือ การตั้งความคาดหวังร่วมกันภายในทีม ให้แต่ละคนร่วมกันแชร์ว่าอยากเห็นทีมเป็นอย่างไร และอยากให้สมาชิแต่ละคนปฏิบัติตัวอย่างไร คาดหวังอะไรจากทีม

    2. สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร

    สำหรับสมาชิกในทีม การกลัว หรือ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่มั่นใจในความคิดของตัวเองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานเป็นทีมหลายครั้งคือสมาชิกในทีมโดยเฉพาะสมาชิกใหม่ สมาชิกที่อายุน้อย หรือ สมาชิกที่ตำแหน่งไม่สูงอาจไม่กล้าออกความเห็น หลายคนกังวลว่าความเห็นตนอาจไม่ดีพอ หลายคนกลัวการถูกตำหนิและถูกตัดสินจากคนรอบข้าง

    ดังนั้น ในฐานะหัวหน้าทีม สิ่งที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติอยู่เสมอคือการพยายามสร้างบรรยากาศในทีมที่เป็นมิตร สร้างความรู้สึก Safe-To-Fail เพื่อให้สมาชิกกล้าที่จะแสดงความเห็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำได้ผ่านวิธีง่าย ๆ เช่น การพูดให้กำลังใจ หรือส่งต่อทัศนคติดี ๆ ให้สมาชิกอยู่เสมอ หรืออาจจะตั้ง No Idea = Bad Idea เป็นหนึ่งใน Team Standard เลยก็ได้

    3. สร้างความ Inclusive

    ความสุขและความรู้สึกอยากในการทำงาน มักเกิดจากความสุขและความรู้สึกที่ได้มาจากทีม หนึ่งในความรู้สึกที่สำคัญคือ ความ Inclusive หรือ ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของงาน ความรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมีผลกับงาน ความรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของทีม ความรู้สึกว่าเสียงของเราได้รับการได้ยิน

    หากทำให้ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นภายในทีม ก็จะช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้สมาชิกปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ ใส่ใจ ระมัดระวัง คอยช่วยเหลือกัน และปฏิบัติงานด้วยความรู้สึกจากข้างในจริงๆ มากกว่าแค่เพราะว่าต้องทำ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของงานที่ตามมา

    หนึ่งแนวทางในการสร้างความรู้สึกนี้คือ การกำหนดรูปแบบการสื่อสารภายในทีม คำนึงเสมอว่าทีมมีพื้นที่ที่ให้สมาชิกสามารถพูดในสิ่งที่ต้องการพูดได้อย่างสบายใจและทำให้มั่นใจว่าไม่มีใครถูก Left Out ในการสนทนา ไม่ว่าจะในช่วงการทำงาน หรือนอกเวลาทำงาน เช่น ตอนออกไปกินข้าวด้วยกัน ซึ่งอีกเทคนิคหนึ่งที่จำช่วยให้คนในทีมสนิทกัน คือการหากิจกรรมทำด้วยกันนอกเวลางาน เพื่อให้คนในทีมได้คุยกันเรื่องอื่นนอกเหนือจากงาน ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น ว่าใครเป็นยังไง ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

    นอกจากนี้ จำนวนสมาชิกในทีมก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ทีมไม่ควรใหญ่จนเกินไปเพราะนั่นอาจจะทำให้ความรู้สึกนี้เกิดได้ไม่ทั่วถึง กฎที่สำคัญที่บริษัท Amazon คือ ทีมจะต้องไม่ใหญ่ไปกว่าจำนวนของพิซซ่า 2 ถาดที่สามารถแบ่งกันกินได้อิ่มพอดี

    4. ประเมิน ติดตามผล แก้ไข

    ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ไม่มีสูตรสำเร็จ แม้จะวางแผนเพื่อสร้างทีมที่ดีไว้ยังไงแต่ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นได้เสมอ

    วิธีที่ใช้รับมือกับเหตุการณ์แบบนี้คือการคอยหมั่นเช็คติดตามอัพเดทคนในทีมเสมอ ซึ่งอาจทำได้ผ่านการพูดคุยรับฟัง Feedback ของกันและกัน ร่วมกันแชร์ว่า Best Practice ที่อยากให้ทุกคนปฏิบัติต่อคืออะไร และอะไรคือสิ่งที่อยากให้แต่ละคนปรับปรุงเพิ่มเพื่อให้ทีมเดินไปข้างหน้า นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะกล่าวคำชมหากลูกทีมคุณปฏิบัติงานได้ดีเพราะคำพูดเล็กๆ สามารถกลายเป็นแรงผลักดันและความรู้สึกดีๆ ที่ยิ่งใหญ่ให้กับหลายๆ คนได้

    แต่เรื่องที่ไม่ดี หรือต้องปรับปรุง ก็ต้องพูดกันตรงๆ ซึ่งไว้เป็นหนึ่งใน Team Expectation เลยก็ได้ ว่าทุกคนในทีมจะ Feedback กันตรงๆ เพื่อให้ทุกคนได้รู้ และเข้าใจว่าในเรื่องงานจะพูดกันตรงๆ และไม่ติดอะไรค้างคาใจ

    5. ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเป็นประจำ

    การสร้างทีมไม่ใช่สิ่งที่จะมาพูดกันครั้งเดียวแล้วจะเวิร์ค แต่ต้องมีการนำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และเคร่งครัด โดยหัวหน้าทีมต้องทำตัวเป็น Role Model เพราะหากตัวเองทำไม่ได้แล้วใครจะทำตาม การ Walk the Talk จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

    ขั้นตอนการปรฎิบัติ ประเมิน ติดตามผล แก้ไข จึงเป็น Loop สำคัญสำหรับหัวหน้าทีม และที่สำคัญกว่านั้นคือต้องควบคุมให้ทีมงาน และตัวเองให้ปฏิบัติตาม Team Stadard ด้วยเช่นกัน

    References: gallup, businessnewsdaily, hrnote.asia

    ชอบเรื่องนี้แค่ไหน ให้หัวใจเราหน่อย

    หัวใจเฉลี่ย / 5. จำนวนโหวด

    แชร์บทความนี้! อาจเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

    ติดตามเราบน Facebook

    เราขอโทษด้วยที่โพสต์นี้ไม่ดีพอสำหรับคุณ

    รบกวนขอ Feedback เพื่อให้เราได้ปรับปรุงนะครับ

    เพื่อประสิทธิภาพในการแสดงผล และการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ hardcoreceo.co เราจึงใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุ้กกี้เพื่อการวิเคราะห์

    Save